วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต เป็นคำถามที่มักจะได้ยินบ่อยๆ คำตอบก้คือใช้
การวินิจฉัยโรค ซึ่งตามหลักวิชาแพทย์จะอาศัยกรรมวิธี 3 ประการคือ
1. การซักประวัติ (Signs) จะได้ทราบถึงลักษณะอาการ
2. การตรวจทางร่างกาย (Symptoms) จะได้ทราบอาการที่แสดง
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab) คือการตรวจทางห้องแล็ป ได้แก่การ
ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และการเอ็กซ์เรย์ รวมทั้งการตรวจทางพยาธิวิทยา
เช่น การตรวจทางชิ้นเนื้อ การเพาะเลี้ยงเชื้อ เป็นต้น

โดยปกติแล้วเราต้องเรียนรู้กายวิภาคและสรีระหน้าที่ก่อน คือต้องรู้ว่าสภาพ
ปกติของอวัยวะนั้นๆ เป็นอย่างไรก่อน แล้วจึงมารู้เรื่องพยาธิสภาพก็คือการรู้
ภาวะการเป็นโรคซึ่งจะทราบถึงอาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้อง
แล็ป พูดง่ายๆการที่จะรู้ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ ก็ต้องรู้สภาพปกติและหน้าที่ของ
ไต รวมทั้งโรคต่างๆของไตเสียก่อน เมื่อไตเป็นโรคก็จะมีอาการ และอาการ
แสดงตลอดจนความผิดปกติทั้งทางสภาพและหน้าที่ เมื่อประมวลต่างๆเข้า
ด้วยกันก็จะรู้ว่าเป้นโรคไตหรือไม่

โรคไตสามารถใช้หลักในการแบ่งความผิดปกติได้หลายวิธี
1. แบ่งตามสาเหตุ
- โรคไตที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียวหรือไตมี
ขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น
กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
- โรคไตที่เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอย
ของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
- โรคไตที่เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคที่เรียเป็นส่วน
ใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ
โรค) เป็นต้น
- โรคไตที่เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต
มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
- เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด

2.แบ่งตามกายวิภาคของไต
- โรคของหลอดเลือดของไต เช่นมีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดไต
- โรคของกลุ่มเลือดฝอยของไต (Glomerulus) ซึ่งพบได้มาก เกิดการอักเสบ
ชนิดไม่ติดเชื้อ (Glomerulonephritis)
- โรคของหลอดไต (Tubule) เช่นการตายของหลอดไตภายหลังอาการช็อค
หรือได้รับสารพิษ เกิดภาวะไตวายแบบเฉียบพลัน (Acute renal failure)
- โรคของเนื้อไต (Interstitium) เช่น แพ้ยาหรือได้รับสารพิษ เป็นต้น

3. แบ่งตามต้นเหตุ จะแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม
- ต้นเหตุจากภายในไตเอง ซึ่งอาจรูหรือไม่รู้สาเหตุก็ได้
- ต้นเหตุจากภายนอกไต เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรค SLE

อาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะแตกต่างกันไปตาม
แต่ละชนิดและตามระยะของโรค สิ่งตรวจพบอย่างหนึ่งอาจตรวจพบได้ใน
หลายๆโรค ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อาการบวม อาจเกิดจากโรคไต โรคตับ โรค
หัวใจ โรคขาดสารอาหารโปรตีน จากความผิดปกติของฮอร์โมน หรือจากผล
ข้างเคียงของยาบางตัว แต่คนทั่วไปอาจรูจักกันดีว่า อาการบวมเป็นอาการที่
พบได้บ่อยในโรคไต ซึ่งก็เป็นจริงถ้ามีลักษณะบ่งชี้เฉพาะของโรคไตและแยก
แยะโรคอื่นๆออกไปแล้ว
ในขณะเดียวกัน โรคอื่นๆอาจจะมีอาการและสิ่งตรวจพบได้หลายอย่างที่มีส่วน
คล้านเช่นโรคเอส แอล อี ซึ่งเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาจมีอาการแสดงออกตาม
ระบบต่างๆเช่น ผิวหนัง เส้นผม ข้อ ไต หัวใจ ปอด และระบบเลือดเป็นต้น

ดังนั้นการวินิจฉัยดรคไตจะใช้วิธีย้อนศร กล่าวคือจะเริ่มดูจากปัสสาวะ ก่อน
เพราะไตเป็นตัวสร้างและขับถ่ายปัสสาวะ ดังนั้นปัสสาวะกับไตน่าจะมีความ
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ที่สำคัญต้องมีขบวนการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจ
เลือด ปัสสาวะ เอ็กซ์เรย์ บางครั้งอาจต้องเจาะไต (kidney biopsy) เอาเนื้อไต
มาตรวจจึงจะทราบว่าเป็นโรคไต

เหตุสงสัยว่าจะเป็นโรคไต พอจะสรุปได้ดังนี้
- ปัสสาวะเป็นเลือด โดยปกติในน้ำปัสสาวะจะไม่มีเลือดหรือเม็ดเลือดสอออก
มา อาจมีได้บ้างประมาณ 3-5 ตัว เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศ์ขยายปานกลาง
การมีเลือดออกในปัสสาวะถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็
อาจจะไม่ใช่ก็ได้
ปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำ
ล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มก็ได้
ในสตรีที่มีประจำเดือน ปัสสาวะอาจถูกปนด้วยประจำเดือน กลายเป็นปัสสาวะ
สีเลือดได้ ถือว่าปกติ
ในโรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างเช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อม
ลูกหมากโต ปัสสาวะมักจะเป็นเลือดสดๆ หรือเป็นลิ่มๆได้
ในโรคของเนื่อไตหรือตัวไตเอง การมีเลือดในปัสสาวะมักเป็นแบบสีล้างเนื้อ
สีชาแก่ หรือสีเหลืองเข้ม
ในผู้ป่วยชาย จำเป็นต้องตรวจค้นหาสาเหตุของปัสสาวะเป็นเลือด แม้จะเกิด
ขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม แต่ในผู้หญิงเนื่องจากมีโอกาสกรพเพาะปัสสาวะอัก
เสบได้บ่อยอาจตรวจค้นหาสาเหตุได้ช้าหน่อย
ในหลายๆกรณีแม้การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ อาจยังไม่สามารถ
บอกสาเหตุได้ จำเป็นต้องเจาะเอาเนื่อไตมาตรวจโดยพยาธิแพทย์ จึงจะทราบ
ถึงสาเหตุได้

-ปัสสาวะเป็นฟองมาก คนปกติเวลาปัสสาวะอาจจะมีฟองขาวๆบ้าง แต่ถ้าใน
ปัสสาวะมีไข่ขาว (albumin) หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟอง
ได้มาก ขาวๆ เหมือนฟองสบู่
จำเป็นต้องตรวจปัสสาวะ และเก็บปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อหาปริมาณ
โปรตีนในปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะมาก ส่วนมากเป็นจาก
โรคหลอดเลือดฝอยของไตอักเสบจากไม่รู้สาเหตุ ทำให้ระดับโปรตีนในเลือด
ลดลงและเกิดอาการบวม รวมทั้งปริมาณโคเลสเตอรอลและไขมันเลือดสูงได้
ดูการตรวจหาระดับโปรตีน (albumin) ในปัสสาวะด้วยตนเอง
การตรวจพบไข่ขาวออกมาในปัสสาวะในจำนวนไม่มากอาจพบได้ในโรคหัวใจ
วาย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

แต่การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาใน
ปัสสาวะพร้อมๆกัน เป็นข้อสัญนิฐานที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต

-ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว
(มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่
ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่นพวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น

-การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ
ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการผิดปกติของระบบทาง
เดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากและท่อทางเดินปัสสาวะ

- การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด
ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ

- การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็น โรคไตเป็นถุงน้ำ
การอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต

- การปวดหลัง ในความหมายของคนทั่วๆไป การปวดหลังอาจไม่ใช่โรคไต
เพราะการปวดบริเวณเอวมักเกิดจากโรคกระดูและข้อ หรือกล้ามเนื้อ ในกรณี
ที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่นและปวดหลังบิเวณไตคือบริเวณ
สันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย

อาการและอาการแสดงทั้งหมดที่กล่าวนี้ จัดเป็นอาการและอาการแสดงเฉพาะ
ที่(local signs&symptoms) ซึ่งได้แก่ไต ทางเดินปัสสาวะ และการขับถ่าย
ปัสสาวะ นอกจากนั้นยังมีกลุ่มอาการและอาการแสดงที่ชวนให้สงสัยหรือเป็น
ส่วนหนึ่งของอาการดรคไตคือ อาการแสดงทั่วไป (systemic signs &
symptoms) ได้แก่
- อาการบวม เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นโรคไตจะมีอาการบวม โดยเฉพาะการบวม
ที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมากจะมีอาการบวมทั่วตัว
อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติค
ซินโดรม (Nephrotic Syndrome)
อย่างไรก็ตามอาการบวมอาจเกิดได้จากโรค ตับ โรคหัวใจ การขาดสาร
อาหารโปร ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน และการบวมชนิดไม่ทราบสาเหตุ
ซึ่งต้องใช้การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้
แยกแยะ หรือยืนยันให้แน่นอน
- ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต
มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิต
สูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆความดันโลหิตก็จะสูง
ได้
อย่างไรก็ตาม สาเหตุของความดันโลหิตสูงนั้นมีมากมาย โรคไตเป็นเพียง
สาเหตุหนึ่งเท่านั้น แต่ก็เป็นสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
- ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้
หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal
failure) เนื่องจากปกติไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไป
กระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรังไตจะไม่สามารถ
สร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีดหรือ
โลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามือ เป็นลมบ่อยๆ

ขอแนะนำว่า ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองเป็นโรคไตหรือไม่นั้น ต้องไปพบแพทย์ ทำ
การวักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ
ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้นว่าเป็นโรคไตหรือไม่ ถ้าหาก
พบแพทย์ท่านหนึ่งแล้วยังสงสัยอยู่ก็ขอให้ไปพบและปรึกษาแพทย์โรคไตเฉพาะ
อายุรแพทย์โรคไต (Nephrologist) หรือศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ
(Urologist) ก็ได้

โรคไต

โรคไต หมายถึง โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายคนเรา โรคไตมีหลายประเภทดังนี้

* โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ
* โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเก๊าท์
* โรคไตอักเสบเนโฟรติก
* โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
* โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
* โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)
สาเหตุ

* เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
* เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
* เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
* เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
* เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด

ทุกๆท่านก็อย่าลืมดูแลตัวเองด้วย
อาการ

1. อาการปัสสาวะผิดปกติ เนื่องจากไตและกระเพาะปัสสาวะทำงานสัมพันธ์กัน เมื่อไตเกิดผิดปกติจึงส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะผิดปกติไปด้วย อาการผิดปกติของปัสสาวะมีดั้งนี้ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก เจ็บ ต้องออกแรงแบ่ง ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสาวะสะดุดกาลางคัน ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปัสสาวะเป็นฟองมาก ปัสสาวะเป็นเลือด
2. อาการบวม ผู้ป่วยโรคไตส่วนมากมีอาการบวมตามที่ต่างๆ ของร่างกาย เช่น บวมรอบดวงตาและที่บริเวณใบหน้า บวมที่เท้า หากใช้นิ้วกดไปตรงบริเวณที่บวมแล้วมีรอยบุ๋มลงไปให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเป็น โรคไต
3. อาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง เอว กระดูกและข้อ โดยจะมีลักษณะการปวดคือ รู้สึกปวดที่บั้นเอวหรือบริเวณชายโครงด้านหลังและมักปวดร้าวไปถึงท้องน้อย ขาอ่อน หัวหน่าว และที่อวัยวะเพศ
4. ความดันโลหิตสูง เป็นอาการสำคัญที่บอกให้รู้ว่าคุณมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรัง ยิ่งผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงมานานและไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในภาวะที่สมดุล ยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าปกติโดยอาจจะเป็นโรคไตเรื้อรังและโรคหลอดเลือดแดงใน ไตตีบ

วิธีรักษา

อาจแบ่งได้เป็น 4 วิธีหลักๆ ด้วยกัน คือ

1. การตรวจค้นหา และการวินิจฉัย โรคไตที่เหมาะสม การตรวจค้นหา หรือวินิจฉัยโรค ที่ถูกต้องได้ในระยะต้นๆ ของโรค ย่อมมีโอกาสได้รับผลการรักษาดีกว่าการเข้าวินิจฉัยล่าช้า
2. การรักษาที่สาเหตุของโรคไต เช่นการรักษานิ่วไต การหยุดยาซึ่งเป็นพิษต่อไต การควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ การใช้ยาที่เหมาะสม กับโรคเนื้อไตอักเสบแต่ละชนิด เป็นต้น
3. การรักษาเพื่อชะลอ ความเสื่อมของไต แม้แพทย์จะรักษาสาเหตุของโรคไตแล้วแต่ผู้ป่วยจำนวนมากอาจมีการทำงานของไตที่ เสื่อมลงกว่าปกติ เพราะเนื้อไตบางส่วนถูกทำลายไปไตส่วนที่ดีซึ่งเหลืออยู่จะต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้ไตเสื่อมการทำงานมากขึ้นตามระยะเวลาและมักเกิดไตวายในที่สุด ดังนั้นการชะลอการเสื่อมของไต อันได้แก่ การควบคุมอาหารให้เหมาะ กับการทำงานของไตที่เหลืออยู่ การใช้ยาเพื่อช่วยปรับสารต่างๆ ที่เป็นพิษต่อไต การควบคุมความดันโลหิตให้ดี เป็นต้น
4. การรักษาทดแทน การทำงานของไต (การล้างไต และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต) เมื่อไตวายมากขึ้นจนเข้าระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยการล้างไตหรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

โรคภัยเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะกับเด็ก ๆ “หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน” เป็นอีกโรคหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม!!

โรคภัยเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะกับเด็ก ๆ “หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน” เป็นอีกโรคหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม!!

พ.ต.อ.นพ.ธนิต จิรนันท์ธวัช อายุรแพทย์โรคไต หัวหน้า หน่วยไต โรงพยาบาลตำรวจ อธิบายถึงการเกิดของโรคนี้ว่า โดยปกติหน่วยไตของคนเรานั้น เป็นหน่วยเล็ก ๆ กระจายอยู่ในเนื้อไต มีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยไตแต่ละข้างจะมีหน่วยไตอยู่ข้างละประมาณ 1 ล้านหน่วย เปรียบเหมือนกับทหาร ทำหน้าที่ขับของเสีย ปรับสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ เพื่อผลิตเป็นน้ำปัสสาวะออกมา

โรคนี้จะเกิดหลังจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เบตา-สเตรปโตค็อกคัส ระหว่าง 7-21 วัน หรือโดยเฉลี่ย 10-14 วัน โดยอวัยวะ 2 จุดสำคัญที่มักจะติดเชื้อ คือ บริเวณลำคอและผิวหนัง ทำให้มีอาการเจ็บคอ คออักเสบ หรือ เป็นตุ่ม ฝี หนอง ขึ้น บริเวณผิวหนัง พบในเด็กได้บ่อยกว่าในผู้ใหญ่ โดยอายุ ที่พบมากที่สุดจะอยู่ในช่วง 2-6 ขวบ

เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นที่หน่วยไต จะทำให้ร่างกายเสียกระบวนการทำงาน ขับปัสสาวะออกมาได้น้อย มีของเสียคั่งอยู่ในเลือดมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการบวม ปัสสาวะออกมาเป็นสีแดงและมีโปรตีนรั่วมาในปัสสาวะได้

“คนไข้จะมาด้วย อาการบวม บริเวณหน้าและรอบดวงตา โดยเฉพาะในช่วงเช้า และอาจจะมีอาการบวมที่ขาร่วมด้วย โดยจะเริ่มจากบวมเล็กน้อย บวมตึง ไปจนถึงบวมมาก โดยอาการบวมดังกล่าวจะไม่เหมือนกับคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ เพราะโรคหัวใจจะเป็นการบวมน้ำที่ปอด คนไข้จะมีอาการหอบเหนื่อยด้วย และไม่เหมือนกับอาการบวมที่เกิดจากโรคตับแข็ง เพราะโรคตับแข็งจะมีอาการบวมที่ท้อง เรียกว่ามีน้ำในท้อง รวมทั้ง ตาจะเหลือง ทำให้สามารถแยกโรคได้”

อาการต่อมาของโรคนี้ คือ ปัสสาวะผิดปกติ โดยจะปัสสาวะออกมาเป็นเลือด มีตั้งแต่สีแดงสดไปจนถึงสีแดงเข้ม รวมทั้ง ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนไข้ที่วัยไม่ควรมีความดันโลหิตสูง อย่างวัยเด็ก หรือ วัยหนุ่มสาว เพราะโรคความดันโลหิตสูงจะเป็นอาการของคนสูงอายุ หรือคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ถ้าอายุน้อยแล้วเป็น ให้สงสัยไว้ว่าอาจเป็นโรคหน่วย ไตอักเสบได้ โดยมีตั้งแต่ความดันโลหิตสูงเล็กน้อยไปจนถึงความดันโลหิตสูงมากได้ และอาจมีอาการอื่น ๆ ตามมาได้ด้วย เช่นกัน อาทิ ปวดหลัง แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 90-95 เปอร์เซ็นต์ มีสาเหตุจากกระดูกและกล้ามเนื้อไม่ใช่อาการปวดที่มาจากโรคไต และในผู้ป่วยบางรายจะมีการทำงานของไตเสื่อมลง หรืออาจรุนแรงจนเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้

“การตรวจพบของแพทย์ สามารถทำได้โดย การตรวจปัสสาวะ เพราะไตจะดีเป็นปกติหรือไม่นั้น ผลลัพธ์อยู่ที่ปัสสาวะ ดังคำขวัญที่ว่า ตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ ปัสสาวะจึงเป็นหน้าต่าง ของไตเช่นกัน ฉะนั้นถ้าตรวจ ปัสสาวะแล้วมีความผิดปกติ จะสะท้อนให้เห็นว่า ไตคนนั้นกำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้น”

การตรวจปัสสาวะ สามารถ ทำได้ 2 วิธี คือ ทางเคมี กับ การส่องกล้องจุลทรรศน์ โดยวิธี ทางเคมี จะตรวจพบว่า มีเลือด หรือ โปรตีนรั่วออกมาปนกับปัสสาวะ ซึ่งการตรวจพบโปรตีนรั่วนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะคนทั่วไปไม่ ควรมีโปรตีนรั่วออกมาทางปัสสาวะได้เลย ถ้าตรวจพบต้องสันนิษฐานว่า มีโรคไตหลบซ่อนอยู่

อีกวิธีหนึ่ง คือ การตรวจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยการนำปัสสาวะที่ปั่นแล้วมาส่อง กล้องตรวจ ถ้ามี ความผิดปกติจะตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ จำนวนมากกว่า 5 ตัว ต่อ 1 ฟิลล์ของกล้องที่ใช้กำลังขยายสูง การตรวจพบเม็ดเลือดแดงที่มีความผิดปกติมากกว่า 5 ตัว มีนัยสำคัญ คือต้องค้นหาเม็ดเลือดแดงนี้ ว่ารั่วมาจากที่ใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพบเม็ดเลือดแดงออกมาในปริมาณมาก

รวมทั้ง ลักษณะของเม็ดเลือดแดง โดยปกติเม็ดเลือดแดงจะมีลักษณะกลม แต่ถ้าเมื่อไร มีลักษณะผิดรูป บิดเบี้ยว คดเคี้ยวไป ให้สงสัยไว้ว่า เม็ดเลือดแดงที่ผิดปกตินั้นจะออกมาจากหน่วยไต ที่มีความเสียหายจากการที่หน่วยไตเกิดการอักเสบ

ด้านการรักษา พ.ต.อ. นพ.ธนิต กล่าวเพิ่มเติมว่า เริ่มจากรักษาตามอาการที่นำคนไข้มาพบก่อน เนื่องจากในเวลาคนไข้มาพบหมอ อาการที่เป็นจากการติดเชื้อสาเหตุของโรคนี้อาจจะหายไปแล้ว เพราะโดยปกติทั่วไปจะเกิดอาการแสดงของโรคไตอักเสบ หลังจากการติดเชื้อ 7-21 วัน แต่อาการแสดงของการติดเชื้อที่บริเวณลำคอและผิวหนัง ส่วนใหญ่ จะดีขึ้นแล้วหรือหายไปได้เองภายใน 7 วัน ทำให้เวลามาพบหมอไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจนหรือตรวจไม่พบการติดเชื้อ

ดังนั้น จึงเป็นการรักษาตามอาการที่ยังพบอยู่ในคนไข้ อย่างเช่น อาการบวม ซึ่งแพทย์จะให้คนไข้พักผ่อน งดของเค็ม เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของเกลือ รวมทั้ง ลดปริมาณน้ำดื่มลง ในคนไข้บางรายมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาขับ ปัสสาวะช่วย ในการขับน้ำและเกลือที่เกินออกจากร่างกาย

“ถ้าคนไข้ยังมีความดันโลหิตสูงมากอยู่ แม้ว่าจะได้รับยาขับปัสสาวะแล้ว จะให้ยาลดความดันโลหิตสูงเพิ่ม ส่วนการรักษาอาการติดเชื้อ จะใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะไม่มีอาการติดเชื้อให้เห็นแล้ว เนื่องจากเป็นโรคที่หายได้เอง แต่ถ้ายังมีอาการติดเชื้ออยู่ จำเป็นที่จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ซึ่งจะเป็นยากลุ่มเพนนิซิลลิน หรือ กลุ่มอีริโทรมัยซิน”

โรคไตเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ถ้าไม่รีบเข้ารับการรักษาอาจจะเข้าสู่ภาวะโรคไต เรื้อรัง และไตวายระยะสุดท้ายได้ ฉะนั้น เมื่อมีอาการหรือเป็นโรคเกี่ยวกับไตแล้ว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษา อย่าปล่อยให้เรื้อรัง เพราะถือได้ว่าเป็นโรคที่ทำลายอวัยวะที่สำคัญของ ร่างกาย ที่จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตถดถอยลงได้.

เคล็ดลับสุขภาพดี : วิธีการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

เมื่อเราเกิดอาการเจ็บ ป่วยไม่สบายขึ้นมาจำเป็นต้องใช้ยาในการบำบัดรักษาโรค แต่หากไม่ทราบว่าการซื้อยาทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีมีวิธีการเลือกซื้อและการใช้ยาที่ถูกต้องเพื่อความ ปลอดภัยของร่างกายมาฝาก

นายแพทย์อัมพร อิทธิระวิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัทไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวแนะนำว่า เวลาเราเลือกซื้อเสื้อผ้าหรือของเล่นให้ลูก ๆ เรายังดูว่าแบรนด์อะไร ทำจากที่ใด ใครเป็นผู้ผลิต ฉะนั้นผู้ป่วยเองก็ควรจะปฏิบัติเช่นเดียวกันในเวลาที่เลือกซื้อหรือบริโภคยา เนื่องจากมาตรฐานของผู้ ผลิตยาแต่ละรายและคุณภาพของยาแต่ละตัวไม่ เท่ากัน ระดับความบริสุทธิ์และสม่ำเสมอของยาแต่ละโดส ก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ในการผลิตของบริษัทยาแต่ละราย ซึ่งส่งผลต่อความสามารถหรือประสิทธิ ภาพของยาในการออกฤทธิ์ทางการรักษาและความปลอดภัยของยานั้น ๆ โดยผู้ป่วยเองควรต้องเช็กดูให้ดีว่าผลิตจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้หรือไม่ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรทราบถึงสิทธิของตนเองว่ามีสิทธิที่จะฟ้องร้องผู้ผลิตยา ได้หรือไม่ หากยาที่ซื้อมามีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานหรือบกพร่องเช่นเดียวกับสินค้าสำหรับ อุปโภคทั่วไป

นอกจากนี้ คุณหมออัมพร ยังได้แนะนำถึงขั้นตอนการใช้ยาอย่างปลอด ภัยง่าย ๆ 7 ข้อด้วยกัน คือ 1.ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งก่อนเริ่มใช้ยา รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เกี่ยวกับเวลา ขนาด และวิธีการใช้ยา 2.แจ้งรายการยาที่ใช้ประจำและประวัติการแพ้ยาแก่แพทย์และเภสัชกร 3.เช็กแหล่งผลิตยาให้แน่ใจว่าเป็นบริษัทที่เชื่อถือได้และมีคุณภาพ การผลิตตามมาตรฐานสากล 4.ตรวจสอบวันหมดอายุของยาบนฉลากยาทุกครั้งก่อนใช้หรือบริโภคยา 5.เก็บรักษายาให้ถูกวิธีตามอุณหภูมิที่ระบุในเอกสารกำกับยา 6.สังเกตอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น หากมีข้อกังวลใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที และ 7.อ่านเอกสารกำกับยาให้เข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

เป็นอย่างไรกันบ้างคะวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัยทั้ง 7 ข้อนี้ คงไม่ยากเกินไปที่ทุกท่านจะปฏิบัติตามนะคะ เพราะหากสามารถปฏิบัติได้ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิ ภาพและมีความปลอดภัยในชีวิตสู่การมีสุขภาพที่ดีต่อไปค่ะ.

สรรหามาบอก

- กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการบำบัดรักษาโรคพร้อมชมนิทรรศการการรักษาโรค ด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านของ 14 จังหวัดภาคใต้ ในงาน “รวมพลังสร้างสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ครั้งที่ 2” ระหว่างวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. ณ บริเวณกระบี่ไนท์พลาซ่า จ.กระบี่

- โรงพยาบาลนครธน ร่วมกับดัชมิลล์ พลัส แอดวานซ์ ขอเชิญคุณแม่ที่มีลูกน้อยอายุระหว่าง 2-6 ขวบ ร่วมกิจกรรมพัฒนาการที่ดีเริ่มจากอารมณ์ที่ดีและร่วมฟังสัมมนาเรื่อง “เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด...แบบอารมณ์ดี” โดย ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนาวาเอกพรทิพย์ อินทรวิเชียร นักจิตวิทยาคลินิก โรงพยาบาลนครธน ใน วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2553 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องประชุม ทองสิมา ชั้น 4 โรงพยาบาลนครธน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สนใจโทร. 0-2450-9999

- บริษัท เฮลธ์ อิมแพค จำกัด บริการตรวจมวลกระดูกฟรี จากผลิตภัณฑ์โปรตีนบำรุงข้อ แคลจี และผงชงดื่ม โซลูแคล แคลเซียมผสมคอลลาเจน ใน วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2553 ที่โรงพยาบาลเสรีรักษ์ เวลา 08.00-12.00 น. พร้อมฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง “ข้อเข่าเสื่อม..ป้องกันได้ก่อนเรื้อรัง” โดย นพ.สวัสดิ์ วิเศษสัมมาพันธ์ ศัลยแพทย์เฉพาะ ทางด้านออร์โธปิดิกส์ สนใจสำรองที่นั่งได้ที่ 0-2918-9888 และเชิญชวนประชาชนรับฟังทอล์กโชว์เรื่อง “การดูแลสุขภาพดีอย่างไร” ที่โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส โดย อาจารย์จตุพล ชมภูนิช เวลา 09.00-12.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2975-6700

การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง

การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง
1.รักษาตามอาการ
2.ล้างไตทางช่องท้อง
3.ฟอกเลือด
4.ปลูกถ่ายไต
สรุปการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง
1.ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด
2.ควบคุมความดันโลหิตสูง
3.หลีกเลี่ยงยาที่เป็นพิษต่อไต

วิธีการลดการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง

วิธีการลดการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง

1. ลดความดันโลหิตสูง

2.ควบคุมปริมาณน้ำตาลให้ได้110มล.กรัม

3.หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดและสารอื่นที่มีพิษต่อไต

4. ลดไขมันในเลือดโดยการออกกำลังกาย

ลักษณะของโรคไตวายเรื้อรัง

1.ความดันโลหิตสูง

2.บวม

3.ซีด

4.อ่อนเพลีย

โรคไตการป้องกันเเละการรักษาไต

การป้องกันและการรักษาโรคไต
ไตมี 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลัง ใต้ชายโครง บริเวณบั้นเอว มีรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง ยาวประมาณ 12เซนติเมตรไต - ประกอบด้วยหลอดเลือดฝอยมากมาย เรียกว่า “หน่วยไต” ( nephron ) - หน่วยไตจะลดจำนวน และเสื่อมสภาพตามอายุไข
ไตทำหน้าที่อะไร ?
1 กำจัดของเสีย
2 ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
3 รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
4 รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย
5 รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
6 ควบคุมความดันโลหิต
7 สร้างฮอร์โมน
1 กำจัดของเสีย ได้แก่ ยูเรีย ครีเอดินิน เมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร จะย่อยสลาย นำส่วนที่เป็นประโยชน์ไปใช้ และปล่อยของเสียออกสู่กระแสเลือด ผ่านมายังไต และถูกขับออกมากับปัสสาวะ ขับยา และสารแปลกปลอมอื่น ๆ
2 ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไว้ สารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จะถูกดูดกลับโดยเซลล์ของหน่วยไตเช่น น้ำ ฟอสเฟด โปรตีน 3 รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย ถ้าน้ำมีมากเกินความต้องการของร่างกาย ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกมาทางปัสสาวะ ถ้าอยู่ในภาวะขาดน้ำ ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ให้ร่างกาย ปัสสาวะจะมีปริมาณน้อยและเข้มข้น
4 รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย ไตที่ปกติจะขับเกลือส่วนเกินได้เสมอ แม้จะรับประทานรสเค็มจัด แต่ถ้าเสื่อมสมรรถภาพ ผู้ป่วยจะมีอาการบวมถ้ารับประทานเกลือมากเกินไป
5 รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย ร่างกายจะผลิตกรดทุกวัน จากการเผาผลาญอาหารโปรตีน ถ้าไตทำหน้าที่ปกติ จะไม่มีกรดคั่ง - ถ้าไตเสื่อมสมรรถภาพ ร่างกายจะมีปัสสาวะเป็นกรด
6 ควบคุมความดันโลหิต ความดันโลหิตสูง เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมสมดุลน้ำ และเกลือ รวมถึงสารบางชนิด ผู้ป่วยโรคไต จึงมักมีความดันโลหิตสูง เพราะไตถูกกระตุ้นให้สร้างสารที่ทำให้ความดันสูง ถ้าความดันโลหิตสูงมาก ทำให้หัวใจทำงานหนัก หรืออาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ แตก เป็นอัมพฤกษ์ และอัมพาตได้
7 สร้างฮอร์โมนไต ปกติสามารถสร้างฮอร์โมนได้หลายชนิด ถ้าเป็นโรคไต การสร้างฮอร์โมนจะบกพร่องไป ตัวอย่างฮอร์โมนที่สร้างจาไต ฮอร์โมนเออริโธรพอยอิติน ( erythropoietin) ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้นผู้ป่วยจะมี อาการซีด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หัวใจทำงานหนัก วิงเวียน หน้ามืด เหนื่อย ใจสั่น เป็นลมบ่อย วิตามินดีชนิด calcitriol ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซี่ยม ซึ่งการที่วิตามีนดี และแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ทำให้ต่อมพาราธัยรอยด์หลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ เป็นผลเสียต่ออวัยวะหลายอย่างในร่างกาย โดยเฉพาะกระดูก ทำให้ไม่แข็งแรง
ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ
ใครมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไต
1. อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ไต จะเริ่มเสื่อม
2. ความดันโลหิตสูง
3. โรคหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ
4. โรคหลอดเลือดสมอง
5. โรคเบาหวาน
6. โรคเก๊าท์
7.โรคไตอักเสบชนิดต่าง ๆ เช่น โรคไตอักเสบตั้งแต่วัยเด็ก ไตอักเสบ เอส-แอล –อี โรคไตเป็นถุงน้ำ นิ่ว เนื้องอก หลอดเลือดฝอยอักเสบ 8. มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต
9. โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ
10. ใช้ยาแก้ปวด หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต - อาการแสดง - การสืบค้น
อาการแสดงเมื่อเป็นโรคไต
1. หนังตา ใบหน้า เท้า ขา และลำตัวบวม
2. ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ขุ่น เป็นฟอง เป็นเลือด สีชาแก่ / น้ำล้างเนื้อ
3. การถ่ายปัสสาวะผิดปกติ เช่น บ่อย แสบ ขัด ปริมาณน้อย
4. ปวดหลัง คลำได้ก้อน บริเวณไต
5. ความดันโลหิตสูง
6. ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ไม่กระฉับกระเฉง
7. ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน
8. เบื่ออาหาร การรับรสอาหารเปลี่ยนไป
9. ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท
อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม
ไตเริ่มเสื่อม
เช่น อาการบวม ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ความดันโลหิตสูง
ไตวายเรื้อรัง เช่น ซีดมากขึ้น เบื่ออาหาร คันตามตัว
อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม
1. อาการบวมที่หน้า และหนังตา
2. อาการบวมที่ขา
3. อาการบวมที่เท้า
4. ปัสสาวะเป็นเลือด
โรคไตวายไตวายเฉียบพลัน
ไตเสื่อมอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเป็นวัน หรือสับดาห์ มักมีอาการมากกว่าแบบเรื้อรัง อัตราการเสียชีวิตสูง ถ้าพ้นอันตราย ไตมักจะเป็นปกติได้
โรคไตวายเรื้อรัง
เนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวร ทำให้ไตค่อย ๆ ฝ่อเล็กลง แม้อาการจะสงบ แต่ไตจะค่อย ๆ เสื่อม และเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด
สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยด้วยโรคไต เข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มีสาเหตุจาก
1. อันดับหนึ่ง โรคเบาหวาน
2. อันดับสอง ความดันโลหิตสูง และ โรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ เช่น โรค เอส- แอล – อี
3. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ โรคนิ่วในไต โรคไตอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อ โรคเก๊าส์ โรคไตจากการกินยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ
โรคถุงน้ำในไตที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ มักทำให้เกิดโรคกับไตทั้ง 2 ข้างพร้อม ๆ กัน
โรคไตจากเบาหวาน
ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานหลายปี จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะต่าง ๆโดยเฉพาะหลอดเลือดทั่วร่างกายจะแข็ง และหนา ทำให้เลือดไป เลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลด ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดี ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จะเกิดเร็วกว่าปกติ โดยเฉลี่ยโรคไตมักจะเกิดตามหลังโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป ถ้าเริ่มมีอาการบวมตามแขน ขา ใบหน้า และลำตัว เป็นการบ่งชี้ว่าเริ่มมีความผิดปกติทางไต การตรวจพบโรคไตระยะเริ่มแรกในผู้ป่วยเบาหวาน
คือความดันโลหิตสูง ไข่ขาวหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ เมื่อไตเริ่มเสื่อมลง จะต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจหน้าที่ไต โดยค่ายูเรียไนโตรเจน ( BUN ) และคริเอตินิน ( Creatinine ) จะสูงกว่าคนปกติ
ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
2. อาการบวม
3. ไตอักเสบจากการติดเชื้อ
4. ไตวายฉับพลัน
5. ไตวายเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตในผู้ป่วยเบาหวาน โรคไตพบประมาณ 30 – 35 % ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต ได้แก่ เพศชาย พันธุกรรม ระดับน้ำตาลสูง ความดันโลหิตสูง โปรตีนรั่วในปัสสาวะ การสูบบุหรี่
ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไตจากเบาหวาน
มีอาการซีด บวม ความดันโลหิตสูง อาการคันตามตัว บื่ออาหาร น้ำหนักลด ระยะสุดท้ายจะอ่อนเพลีย คลื่นใส้ อาเจียน อย่างไรก็ดี
การเกิดโรคไตจากเบาหวาน
มักมีสิ่งตรวจพบเพิ่มเติมจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจากสาเหตุอื่นซึ่งก็คือ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวาน อาการชาตามปลายมือ เท้า เจ็บหน้าอก ตามัว แขนขาอ่อนแรง แผลเรื้อรังตามผิวหนังและปลายเท้า
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันโรคไต1. ตรวดปัสสาวะ เพื่อหาโปรตีนทุกปี
2. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เท่ากับ หรือใกล้เคียงปกติ เท่าที่สามารถทำได้
3. รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณท์ปกติ
4. หลีกเลี่ยงการใช้ยา หรือ สารที่เป็นอันตรายต่อไต เช่น ยาต้านการอักเสบระงับปวด สารทึบรังสี
5. สำรวจ และให้การรักษาโรค หรือ ภาวะอื่นที่ทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพ เช่น การติดเชื้อทางปัสสาวะ
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และเป็นโรคไต
1. ตรวดปัสสาวะ และ เลือด เพื่อดูหน้าที่ไตเป็นระยะ ๆ
2. กินยาตามแพทย์สั่งติดต่อกัน และพบแพทย์ตามนัด
3. งดบุหรี่ และแอลกอฮอล์ ซึ่งมีผลต่อหลอดเลือด
4. ถ้าต้องรับประทานยาแก้ปวด หรือ ยาอื่น ๆ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และเภสัชกร
5. เมื่อมีอาการบวม ควรงดอาหารเค็ม รสจัด หมักดอง และอาหารกระป๋อง
6. ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ หรือ ใกล้เคียงมากที่สุด กินยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเองเพราะคิดว่าสบายดีแล้ว
7. ระวังอาหารที่มี โคเลสเตอรอลสูง
8. รับประทานผัก และปลามากขึ้น
9. ควรตรวจอวัยวะอื่น ๆ ด้วย เช่น ตา หัวใจ ปอด
10. สำรวจผิวหนัง และเท้าให้สะอาด ไม่มีแผลเรื้อรัง
11. ระหว่างการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม ควรรับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารเค็มให้น้อยที่สุด
12. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด
ตัวอย่างอาหารไขมันสูงที่ควรระวัง
1. อาหารโคเลสเตอรอลสูง อาหารทะเล เนื้อ – หมู ติดมัน กุ้ง หอย ทุเรียน เนย
2. อาหารไตรกลีเซอร์ไรด์สูง อาหารจำพวกแป้ง ของหวาน ผลไม้รสหวาน เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์