วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อาหารผู้เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ด้วยการล้างช่องท้องชนิดถาวร (CAPD)

อาหารผู้เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
ด้วยการล้างช่องท้องชนิดถาวร (CAPD)
ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างช่องท้องชนิดถาวร
(CAPD- Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis) เพื่อลดการคั่งของของเสียและน้ำ ช่วยให้
ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ในการรักษาทดแทนไตด้วยการทำ CAPD นี้ จะมีการสูญเสียสารโปรตีน วิตามิน
และเกลือแร่ไปกับน้ำยาที่ใช้ล้างช่องท้อง ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้
เพียงพอ มิฉะนั้นอาจขาดสารอาหารได้ ปัญหาโภชนาการที่มักพบในผู้ที่ได้รับการรักษาทดแทนไตด้วยการ
ทำ CAPD คือ รับประทานอาหารที่ให้โปรตีนไม่เพียงพอ ทำให้ขาดโปรตีน มีระดับอัลบูมีนในเลือดต่ำ
อาจเนื่องมาจากผู้ป่วยเคยชินกับการถูกจำกัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ในช่วงเป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
ก่อนได้รับการรักษาด้วยการล้างช่องท้องมาเป็นเวลา นาน ทำให้รับประทานอาหารที่ให้โปรตีนได้ไม่มาก
พอ นอกจากนี้ในการทำ CAPD จำเป็นต้องใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องครั้งละ 2 ลิตร และทิ้งไว้ระยะเวลา
หนึ่ง เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนของเสียระหว่างเลือดและน้ำยาล้างไต ผ่านทางเยื่อบุช่องท้อง แล้วจึงปล่อย
น้ำยาออกมา ต้องทำการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตวันละ 4 ครั้ง การมีน้ำเข้าไปอยู่ในช่องท้อง ทำให้รู้สึกแน่นช่อง
ท้อง รับประทานอาหารได้น้อยลง และน้ำยา CAPD มีกลูโคสซึ่งจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้ผู้ป่วย
ไม่รู้สึกหิว ไม่มีความอยากอาหาร ผู้ป่วยบางคนยังขาดธาตุสังกะสี ทำให้ความรู้สึกในการรับรส
เปลี่ยนแปลง รับประทานอาหารไม่อร่อย ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง เหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดการ
ขาดสารโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่อื่นๆได้
ภาวะโภชนาการเกินหรืออ้วน ก็เป็นปัญหาโภชนาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยได้กลูโคสจากน้ำยา CAPD ที่ใช้ล้างช่องท้อง ทำให้ได้รับพลังงานเพิ่มมากกว่าที่ควร
ได้รับ ทำให้อ้วน ผู้ป่วยบางคนอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มีภาวะต้านอินสุลิน (Insulin
resistance) ภาวะแทรกซ้อนที่มักพบในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทดแทนด้วยการทำ CAPD ก็คือ การมี
ภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
และเกิดโรคหัวใจขาดเลือดตามมา ผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างช่องท้องชนิดถาวร จึง
จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง เพื่อการมีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดี
2
ผู้เป็นโรคไตที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างช่องท้องชนิดถาวร (CAPD) รับประทาน
อาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้มากน้อยเพียงไร
ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการทำ CAPD ควรรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนให้เพียงพอ ได้แก่ เนื้อ
หมู ไก่ ปู ปลา กุ้ง และไข่ขาว ทั้งนี้เพราะการทำ CAPD จะสูญเสียอัลบูมินซึ่งเป็นสารโปรตีนไปกับ
น้ำยาล้างช่องท้อง ผู้ป่วยจึงต้องรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ให้มากขึ้น เพื่อชดเชยปริมาณโปรตีนที่
สูญเสียไป และเพื่อให้ร่างกายนำสารโปรตีนเหล่านี้ไปใช้ในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ โดย
รับประทานเนื้อหมู เนื้อไก่ ที่ไม่ติดมันและหนัง หรือเนื้อปลา มื้อละ 4 ช้อนกินข้าวพูนพอควร (2 รายการ
ในตารางที่ 1) วันละ 3 มื้อ หรือจะแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก 4-5 มื้อก็ได้ ไข่ไก่ควรได้รับสัปดาห์ละ 2 ฟอง
ยกเว้นผู้ที่มีฟอสฟอรัสในเลือดสูง ควรงดไข่แดง หากเป็นไข่ขาวรับประทานได้ทุกวัน วันละ 4 ฟอง
โดยเฉพาะผู้ที่มีระดับอัลบูมินต่ำกว่า 3.5 กรัม/ลิตร
ตารางที่ 1 ปริมาณเนื้อสัตว์สุก 1 ส่วน (เฉพาะส่วนเนื้อ) ให้โปรตีน 7 กรัม พลังงาน 65-75 กิโล
แคลอรี
อกไก่ 2 ช้อนกินข้าว ไข่ 1 ฟอง
เนื้อหมูแดง 2 ช้อนกินข้าว ไข่ขาว 2 ฟอง
ปลาทูน่า 2 ช้อนกินข้าว ปลาทอด 2 x 1 ½ x ½ นิ้ว 1 ชิ้น
ลูกชิ้นปลา 5-6 ลูก หมูบด 2 ช้อนกินข้าว
แฮมไม่ติดมัน 1 ชิ้น (3 ½ x3 ½ x 1/8 นิ้ว) กุ้งขนาดกลาง 4 ตัว
ตะโพกไก่ไม่ติดหนัง 2 ช้อนกินข้าว
ผู้เป็นโรคไตรับประทานข้าว / ก๋วยเตี๋ยวหรืออาหารจำพวกแป้งอื่นๆได้มากน้อยเท่าไร
ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมปัง ขนมจีน ข้าวโพด เผือก มัน ฯลฯ เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ
ควรได้รับข้าวมื้อละ 2-3 ทัพพี หรือก๋วยเตี๋ยวก็ได้ เพื่อใช้เป็นพลังงานในการทำงานของอวัยวะต่างๆภายใน
ร่างกาย รวมทั้งใช้ในการทำงานและกิจกรรมอื่นๆ และการได้รับอาหารที่ให้พลังงานอย่างเพียงพอ ยังช่วย
ให้ร่างกายสามารถนำสารโปรตีนไปใช้ในการเสริมสร้างซ่อมแซมเซลล์และกล้ามเนื้อได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการทำ CAPD จะได้รับการใส่น้ำยาไปในช่องท้อง ทำให้รู้สึกแน่น
อึดอัดท้อง และบางครั้งรู้สึกเบื่ออาหาร ทำให้รับประทานข้าว ก๋วยเตี๋ยวได้น้อยลง จึงควรแบ่งมื้ออาหาร
เป็นมื้อเล็ก วันละ 4-5 มื้อ โดยจัดให้มีอาหารว่างระหว่างมื้อ ในแต่ละมื้อควรมีเนื้อสัตว์ เช่น ปลา ไก่ ให้
เพียงพอด้วย เพื่อป้องกันการขาดสารโปรตีน สำหรับผู้ที่อ้วนมาก ควรลดปริมาณข้าวหรืออาหารจำพวก
แป้งอื่นๆลงบ้าง เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ตารางที่ 2 ปริมาณข้าวและแป้ง 1 ส่วน มีโปรตีน 2 กรัม ให้พลังงาน 70-80 กิโลแคลอรี
ข้าวต้ม 2 ทัพพี ขนมปังกรอบ 3 แผ่น
ข้าวสุก 1 ทัพพี มันฝรั่งสุก ½ ถ้วย
ก๋วยเตี๋ยวลวก 1 ทัพพี ข้าวเหนียวนึ่ง 1/4 ถ้วย
วุ้นเส้น 2/3 ถ้วย ซีเรียลไม่เคลือบน้ำตาล ½ ถ้วยตวง
ขนมปัง 1 แผ่น ขนมจีน 1 จับ
ข้าวโพดต้ม 1 ฝักกลาง
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD จะรับประทานขนมหวาน น้ำหวานได้หรือไม่
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวานจัด น้ำหวาน เนื่องจากใน
น้ำยา CAPD มีกลูโคสผสมอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่ใช้น้ำยาซึ่งมีความเข้มข้นของกลูโคส 4.25%
กลูโคสจะถูกดูดซึมเข้าไปมาก อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ระดับอินสุลินในเลือดสูงขึ้น น้ำหนัก
ตัวเพิ่มขึ้น มีภาวะต้านอินสุลิน เกิดโรคเบาหวาน และมีภาวะไขมันในเลือดสูง จึงควรหลีกเลี่ยงขนมที่
หวานจัด เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ขนมหม้อแกง ฯลฯ ขนมเชื่อมต่างๆ ขนมน้ำเชื่อม
ขนมกวน รวมทั้งน้ำหวาน บางครั้งถ้าอยากรับประทานขนมหวาน ควรเลือกรับประทานขนมที่หวานน้อย
เช่น ขนมกล้วย ขนมมัน ขนมตาล ขนมสาลี่ เค้กไม่มีหน้า ฯลฯ ควรหลีกเลี่ยงขนมที่มีเนยหรือกะทิ และ
พยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ต้องจำกัดอาหารจำพวกไขมันหรือไม่
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD จะได้รับพลังงานส่วนเกินจากกลูโคสในน้ำยาล้างช่องท้อง ทำให้
อ้วน มีระดับไตรกลีเซอไรด์และระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วย
ที่ทำ CAPD และนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว ควร
เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย หลีกเลี่ยงเนื้อติดมัน อาหารที่ทำจากกะทิ หรือมีส่วนประกอบของ
เนย ครีม มาการีน ได้แก่ เค้ก คุกกี้ พาย ครัวซอง เพสตรี้ ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวมาก รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหาร
ที่มีโคเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง หนังเป็ด หนังไก่ หนังหมู มันหมู เครื่องในสัตว์ ปลาหมึก และ
อาหารจำพวกฟาสฟู้ด เช่น พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด ควรเลือกใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง
น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำ น้ำมันถั่วลิสง ในการประกอบอาหาร ใช้แต่น้อยโดยใช้ผัดแทนการทอด และ
หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำสลัดจำพวกมายองเนส และสลัดครีม ฯ
ผู้ที่อ้วนควรลดน้ำหนักลง โดยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เช่น เนื้อสัตว์ติด
มันและหนัง ขาหมู หมูสามชั้น และอาหารทอดต่างๆ เช่น อาหารชุบแป้งทอด มันทอด กล้วยแขก ข้าว
เกรียบ ทอดมัน หอยจ้อ ปาท่องโก๋ หมูหัน หนังเป็ดปักกิ่ง ควรเลือกรับประทานอาหารที่ทำโดยการต้ม
นึ่ง ย่าง อบ ผัดน้ำมันน้อย หรือยำ
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง จะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง มีระดับ
แอล ดี แอล (LDL) ในเลือดสูง และมีระดับเอช ดี แอล (HDL) ในเลือดต่ำ ทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
ขาดเลือด ผู้ป่วยควรควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่แสดงในตารางที่ 3 และควรเลือก
รับประทานอาหารตามตารางที่ 4 ในช่องที่แนะนำให้เลือก ในตารางที่ 5 แสดงปริมาณโคเลสเตอรอลใน
อาหาร เพื่อให้ทราบว่าอาหารชนิดใดมีโคเลสเตอรอลมาก และควรหลีกเลี่ยง
ตารางที่ 3 ระดับไขมันในเลือด ระดับที่เหมาะสม (มก/ดล)
โคเลสเตอรอลในเลือดทั้งหมด < 200
แอล. ดี. แอล. (โคเลสเตอรอลชนิดเลว) < 100 หรือ < 130
เอช. ดี. แอล. (โคเลสเตอรอลชนิดดี) > 55
ไตรกลีเซอไรด์ < 150
ตารางที่ 4 ปริมาณอาหารที่ควรเลือกและควรเลี่ยง
อาหารที่มีไขมันน้อยควรเลือกรับประทาน (ควรเลือกรับประทาน)
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและอาหารที่มีไขมันมาก(ควรหลีกเลี่ยง)
เช่นเนื้อปลา เนื้อสัตว์ติดมัน หมูสามชั้น คอหมู ขาหมู ไก่ตอน ฯ
เนื้อหมูไม่ติดมัน หมูหัน เป็ดปักกิ่ง หนังหมูทอด ฯ
เนื้อไก่ / เป็ด ไม่ติดมัน / หนัง ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ฯ
อาหารที่ผัดเช่น น้ำมันน้อย แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า ฯ
อาหารที่เตรียมโดยการต้ม นึ่ง ย่าง อบ เช่น หมูสะเต๊ะ หมูปิ้ง
อาหารที่ไม่ใส่กะทิเช่น แกงกะทิ ขนมใส่กะทิ ขนมครก ฯลฯ
อาหารจำพวกแกงเช่น แกงส้ม ต้มยำ แกงจืด ขนมอบที่มีเนยมาก เช่น เค้ก คุกกี้ พาย เพสตรี้ ฯ
อาหารประเภทยำ ที่มีผักมาก เช่น ส้มตำ ยำผักต่างๆ
อาหารทอดทุกชนิดเช่น ไก่ทอด กุ้งทอด ปลาทอดผัดผักต่างๆ กล้วยทอด ปาท่องโก๋ มันฝรั่งทอด ข้าวเกรียบ
หมายเหตุ : น้ำมันที่ใช้ผัด ควรใช้น้ำมันรำ
น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันถั่วลิสง หรือใช้น้ำมัน
ปาล์มโอเลอีนร่วมกับน้ำมันถั่วเหลือง 1:1
อาหารที่มีโคเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง ไข่ปลาปลาหมึก น้ำมันหมู เนย เครื่องในสัตว์ เช่นตับ ปอด หัวใจ
ตารางที่ 5 ปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม
ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้
ชนิดอาหาร จำนวนอาหาร มิลลิกรัม
ไข่ไก่ (เฉพาะไข่แดง) 6 ฟอง 1602
ไข่ไก่ทั้งฟอง 2 ฟองใหญ่ 548
ไข่เป็ดทั้งฟอง 2 ฟองกลาง 884
ไข่นกกระทา 11 ฟอง 844
ไข่ปลา 10 ช้อนชา 374
ตับไก่ 10 ช้อนโต๊ะ 631
ตับหมู 10 ช้อนโต๊ะ 355
ไตหมู 10 ช้อนโต๊ะ 480
กุ้งสุก 10 ช้อนโต๊ะ 195
ปลาหมึก 10 ช้อนโต๊ะ 260
หอยนางรม 4 ตัวกลาง 100
ข้อมูลจาก รศ. ดร. ปรียา ลีฬหกุล หน่วยโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรพยาบาลรามาธิบดี
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ต้องจำกัดผัก ผลไม้หรือไม่
ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังที่รักษาด้วยการทำ CAPD จะมีการสูญเสียโพแทสเซียมไปกับน้ำยาล้างไต จึง
ควรรับประทานผักและผลไม้ให้มากพอ มิฉะนั้นอาจขาดโพแทสเซียม ซึ่งมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ
หัวใจได้ โพแทสเซียมมีมากในผักสีเขียวจัด ผู้ป่วยควรรับประทานเป็นประจำให้เพียงพอ ซึ่งจะทำให้ได้
เหล็ก แคลเซียม วิตามินและใยอาหารเพิ่มขึ้นด้วย แต่ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่หวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน
ลำไย ฯ ผลไม้กวนและผลไม้เชื่อม เนื่องจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงได้
ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่ไม่หวานจัดและมีโพแทสเซียมมาก เช่น ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก แคนตา
ลูป ฝรั่ง กระท้อน ลูกพรุน รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง และควรรับประทานในรูปผลไม้มากกว่าน้ำผลไม้
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ต้องจำกัดเกลือและน้ำหรือไม่
โดยทั่วไป ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ไม่ต้องจำกัดเกลือโซเดียมและน้ำ เพราะมีการสูญเสียไป
กับน้ำยาล้างช่องท้อง รับประทานอาหารรสเค็มได้ตามปกติ ถ้ามีการสูญเสียมาก อาจต้องรับประทาน
อาหารที่มีรสเค็มเพิ่มขึ้น แต่หากมีความดันโลหิตสูงหรือบวม ก็จำเป็นต้องจำกัดอาหารที่มีรสเค็มจัดและ
ปริมาณน้ำที่ได้รับ
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD รับประทานอาหารจำพวกถั่วเมล็ดแห้งได้หรือไม่
ถั่วเมล็ดแห้งทุกชนิดมีสารฟอสฟอรัสสูง การรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสมาก ทำให้ระดับ
ฟอสฟอรัสในเลือดสูง มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียม ทำให้แคลเซียมในเลือดต่ำ เป็นผลต่อการทำงานของ
กระดูก ทำให้กระดูกพรุน หักง่าย ปวดกระดูก ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังที่ทำ CAPD จึงควรหลีกเลี่ยงถั่วเมล็ด
แห้งทุกชนิด และเมล็ดพืชตามตารางที่ 6 รวมทั้งอาหารอื่นที่มีฟอสฟอรัสสูงด้วย เช่น ไข่แดง เครื่องใน
สัตว์ น้ำนม
ตารางที่ 6 ชนิดของอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง / งด
ถั่วแดง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ปลาทอดกรอบทั้งกระดูก
ถั่วดำ เมล็ดถั่วลันเตา ตับหมู ตับไก่ ไต หัวใจ ปอด ฯ
ถั่วเขียว เมล็ดทานตะวัน ไข่แดง
ถั่วแระ เมล็ดแตงโม เนื้อวัว
ถั่วลิสง เมล็ดฟักทอง น้ำนม, โยเกิร์ต
ถั่วเหลือง เครื่องดื่มประเภทโคล่า เนยแข็ง
ถั่วอัลมอนต์ ช็อกโกแลต จมูกข้าวสาลี
ถั่วพิตัสชิโอ ปลาซาดีนกระป๋อง ปลาแก้ว/ปลาขาวแห้ง
พีคานนัท ปลาไส้ตัน สาหร่ายแห้ง
เค้ก / โดนัท ปาท่องโก๋ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นอกจากนี้ ฟอสฟอรัสยังมีมากในสารเจือปน (Food additive) ซึ่งใช้เติมในอาหารต่างๆเพื่อ
เป็นวัตถุกันเสีย หรือปรับคุณภาพ หรือเพิ่มความคงตัวในอาหารและในผงฟู จึงควรอ่านฉลากและ
รับประทานแต่น้อยด้วย
ผู้เป็นโรคไตที่รักษาด้วยการทำ CAPD ควรปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหารอย่างไร
โดยสรุป ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหารดังนี้
1. รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น เนื้อหมู ไก่ ปลา กุ้ง แต่ละมื้อประมาณ 4 ช้อนกิน
ข้าวพูนน้อย
2. รับประทานข้าว ก๋วยเตี๋ยว หรือแป้งอื่นๆในมื้อหลัก มื้อละ 2-3 ทัพพีเล็ก (ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า)
3. แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก โดยรับประทานวันละ 5-6 มื้อ แทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่วันละ 2-3
ครั้ง จะช่วยให้ไม่รู้สึกแน่นท้องหลังรับประทานอาหาร
4. รับประทานผักสีเขียว ผักสีเหลือง และผลไม้ให้เพียงพอทุกมื้อ
5. ถ้าต้องการดื่มนม ให้ดื่มไม่เกิน ½ - 1 แก้วต่อวัน และถ้ามีระดับฟอสเฟตในเลือดสูง ควรงดนม และ
เครื่องดื่มประเภทนม
6. เลี่ยงการเติมน้ำตาลในอาหาร เครื่องดื่ม และไม่ดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม
7. รับประทานผลไม้ที่ไม่หวานจัดแทนขนมหวาน หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำผลไม้
8. รับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว เช่น เนย ครีม เนื้อติดมัน ไขมันสัตว์
หนังสัตว์ ฯ อาหารใส่กะทิ
9. ผู้ป่วยที่อ้วน ควรหลีกเลี่ยงอาหารทอดทุกชนิด เช่น ทอดมัน แฮ่กึ๊น ข้าวเกรียบ มันทอด ข้าวตัง
ปาท่องโก๋ ฯ
10. หลีกเลี่ยงอาหารฟาสฟู้ดที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลสูง
11. หลีกเลี่ยงการรับประทาน ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดแตงโม เมล็ดทานตะวัน เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ไข่ปลา
12. ใช้น้ำมันพืชจำพวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันปาล์ม ในการทำอาหาร
13. ควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์


ที่มา http://www.nephrothai.org/nephrothai_boffice/images_upload/news/188/files/capd%20diet%20valai.pdf

ไม่มีความคิดเห็น: