วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

หน้าที่ของไต 1. ควบคุมสมดุลของน้ำ

2. ควบคุมสมดุลของเกลือแร่ ที่สำคัญได้แก่ sodium, potassium, phosphorus, calcium, magnesium

3. ควบคุมสมดุลกรดด่าง

4. กำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยเฉพาะ nitrogen waste products ที่เกิดจากโปรตีน

5. สร้างฮอร์โมน ได้แก่

5.1 erythropoietin (EPO) กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูก

5.2 renin ควบคุม ความดันโลหิต

5.3 calcitriol (vitamin D) ควบคุมสมดุลของแคลเซี่ยม

อัตรากรองของไต • Glomerular filtration rate (GFR)

– เป็นค่าที่บ่งบอกการทำงานของไต

– มีหน่วยเป็น มล./นาที

– ถ้าปรับตาม BSA จะมีหน่วยเป็น มล./นาที/1.73 ตรม.

– ค่าปกติ ขึ้นอยู่กับอายุ

– การวัดค่าโดยตรง ยุ่งยาก (inulin clearance)

– อาศัยการประเมินโดยดูจากผลตรวจเลือดหา serum creatinine ที่สามารถทำได้ทั่วไป
สถานการณ์โรคไตเรื้อรังในประเทศไทย
interASIA study ประมาณว่า
– ความชุกของ CKD stage 3 ประมาณ 20.1% ของคนไทยที่มีอายุมากกว่า 35 ปี (ประมาณ 5 ล้านคน)
– ความชุกของ CKD stage 4 ประมาณ 0.94% ของคนไทยที่มีอายุมากกว่า 35 ปี (ประมาณ 2.3 แสนคน)
แนวทางในการจัดการปัญหาโรคไตเรื้อรัง
1. ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับตระหนักถึงปัญหาโรคไตเรื้อรัง
2. ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยให้ปลอดจากโรคไตเรื้อรัง
3. ตรวจหาผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มแรก
4. ชะลอการเสื่อมของไตและป้องกันภาวะแทรกซ้อนระยะยาว
5. เตรียมผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการบำบัดทดแทนไต
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตเรื้อรัง
1. ปัจจัยทำให้เสี่ยง ได้แก่ อายุมาก มีประวัติโรคไตในครอบครัว หรือมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ
2. ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค คือเป็นเหตุที่ทำลายไต ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคจากภูมิคุ้มกันตนเอง นิ่วในไต การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ การได้รับสารพิษต่อไต การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ
3. ปัจจัยทำให้การเสื่อมของไตเร็วขึ้น ได้แก่ การมีโปรตีนรั่วมากในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ดี เบาหวานที่ควบคุมไม่สม่ำเสมอ การสูบบุหรี่
การตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรัง
• ควรทำในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง
• ใช้การตรวจที่ง่าย ไม่แพง
• ได้แก่
– การตรวจ serum creatinine เพื่อหา eGFR
– การตรวจปัสสาวะ urine examination
– การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ
• Urine microalbumin
• Urine protein creatinine ratio
– การตรวจหาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
• FBS, lipid profile, วัด BPกลไกที่ทำให้การทำงานของไตเลวลง
• โรคไตที่เป็นเหตุนำ ยังไม่สามารถรักษาหรือควบคุมได้ เช่น
– Active Glomerulonephritis
– การอุดตันทางเดินปัสสาวะจากนิ่ว ก้อนเนื้องอก ยังไม่ได้รับการแก้ไข
– การติดเชื้อซ้ำที่ไต
– การได้รับยาหรือสารที่มีพิษต่อไต
• การมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
• การควบคุมความดันโลหิตไม่ดีพอ
• การควบคุมเบาหวานไม่ดีพอ
• การสูบบุหรี่