วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การผ่าตัดต่อเส้นเลือด เพื่อฟอกเลือด

ผ่าตัดต่อเส้นเลือดเพื่อฟอกไตการผ่าตัดต่อเส้นเลือด เพื่อฟอกเลือด
(Vascular access for hemodialysis)

ถ้าคุณ จะต้องได้รับการรักษาโรคไตวายเรื้อรังในไม่กี่เดือนข้างหน้า คุณควรจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการรักษาจากทีมบุคลากรที่ดูแลรักษา คุณให้มากที่สุด ขั้นตอนที่สำคัญอันหนึ่ง คือ การผ่าตัดต่อเส้นเลือดเพื่อการฟอกเลือด ซึ่งเป็นตำแหน่งที่นำเลือดออกจากและกลับคืนร่างกายในการฟอกเลือด การผ่าตัดต่อเส้นเลือดควรทำเตรียมว้ก่อนเริ่มฟอกเลือดหลายสัปดาห์หรือหาย เดือน ซึ่งจะเป็นการง่ายกว่าและผลที่ดีกว่าสำหรับคุณ การผ่าตัดต่อเส้นเลือดมีหลายวิธี




การผ่าตัดต่อเส้นเลือดโดยใช้เส้นเลือดผู้ป่วยเองผ่าตัดต่อเส้นเลือดโดยใช้เส้นเลือดผู้ป่วยเอง
(Arteriovenous fistula, AV fistula, AVF)

เป็น วิธีที่ดีที่สุด ถ้าคุณมีเส้นเลือดโตเหมาะสมและมีเวลาเพียงพอ เพราะหลังผ่าตัดต้องใช้เวลารอให้เส้นเลือดที่ต่อโตพอที่จะใช้ได้ (อาจหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน) แต่ถ้าสามารถใช้ได้แล้ว ภาวะแทรกซ้อนจะน้อยกว่าและอายุการใช้งานจะนานกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชนิด อื่นโดยรวม
แพทย์ ผู้ผ่าตัดจะต่อเส้นเลือดดำเข้ากับเส้นเลือดแดงโดยตรงที่บริเวณข้อมือหรือข้อ ศอกจะทำให้แรงดันเลือดจากเส้นเลือดแดงไหลเทเข้าเส้นเลือดดำ จะทำให้เส้นเลือดดำที่แขนโตและแข็งแรงขึ้นจนสามารถใช้เข็มเบอร์โตแทง เพื่อการฟอกเลือดได้ การผ่าตัดมักจะใช้การฉีดยาชาเฉพาะที่



ผ่าตัดต่อเส้นเลือดโดยใช้เส้นเลือดเทียมการผ่าตัดต่อเส้นเลือดโดยใช้เส้นเลือดเทียม
(Arteriovenous bridge graft, AVBG, AVG)

ถ้าเส้น เลือดของคุณขนาดเล็กไม่เหมาะสมที่จะผ่าตัดด้วยวิธีแรก คุณจะต้องใช้เส้นเลือดเทียมฝังใต้ผิวหนังที่แขนสามารถใช้ได้ภายใน 2 - 3 สัปดาห์ โดยรวมแล้วปัญหาในการใช้งานอาจจะมากกว่าแบบแรก แต่ถ้าดูแลดีสามารถใช้ได้นานอาจจะหลายปี






สายสวนเส้นเลือดดำ เพื่อฟอกเลือดชั่วคราวcatheter
(Double lumen venous catheter for temporary access)

ถ้าไต ของคุณเสื่อมอย่างรวดเร็วจนไม่มีเวลารอการผ่าตัดเส้นเลือดได้ก่อน คุณอาจจะจำเป็นต้องใช้สายสวนเส้นเลือดดำ เพื่อฟอกเลือดชั่วคราว วิธีนี้ไม่อยู่ถาวร อาจจะอุดตัน ติดเชื้อและทำให้เส้นเลือดดำที่สวนตีบตันได้ ถ้าจำเป็นต้องฟอกเลือดเร่งด่วนการใช้สายส่วนนี้ก็สามารถอยู่หลายสัปดาห์



คำแนะนำหลังผ่าตัดต่อเส้นเลือดเพื่อฟอกเลือด
(Arteriovenous fistular, AVF)


  1. เป็นการผ่าตัดเชื่อมต่อเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงที่ข้อมือหรือข้อศอกของแขนผู้ป่วย
  2. แผลอาจมีเลือดซึมได้
  3. ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทำแผล เว้นแต่แผลซึมมากหรือผ้าคลุมแผลสกปรก
  4. โดยปรกติจะนัดตัดไหม 10 - 14 วัน
  5. อย่าให้แผลเปียกน้ำ
  6. หลังจากผ่าตัด 4 - 5 วัน ให้บริหารมือโดยบีบลูกยางหรือบอลบ่อยๆ เพื่อที่จะช่วยให้เส้นเลือดโตเร็วขึ้น
  7. ห้ามวัดความดันหรือแทงน้ำเกลือแขนข้างที่ผ่าตัดเส้นเลือด
  8. ห้ามสวมนาฬิกา กำไล หรือสายรัด ที่จะกดทับบริเวณเส้นเลือดแขนข้างที่ผ่าตัด


คำแนะนำหลังผ่าตัดต่อเส้นเลือดฟอกเลือดโดยใช้เส้นเลือดเทียม
(Arteriovenous bridge graft, AVBG)


  1. เป็นการผ่าตัดโดยใช้เส้นเลือดเทียมต่อระหว่างเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำในแขนหรือขาของผู้ป่วย
  2. อาการปวดและบวมเป็นเรื่องปกติ เพื่อลดอาการปวดและบวม ควรยกแขนสูงโดยหนุนหมอนให้สูงกว่าระดับหัวใจใน 24 - 48 ชม. แรก ห้ามใช้ความร้อนประคบ
  3. ที่แขนอาจจะมีฟกช้ำจ้ำเลือด จะรู้สึกอุ่น อาจมีเลือดซึมจากบาดแผล
  4. ถ้าจำเป็นก็ทานยาแก้ปวดฟอกเลือด
  5. ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทำแผล เว้นแต่แผลซึมมากหรือผ้าคลุมแผลสกปรก
  6. โดยปรกติจะนัดตัดไหม 10 - 14 วัน
  7. อย่าให้แผลเปียกน้ำ
  8. หลีกเลี่ยงการงอข้อศอกมากๆ จะทำให้รบกวนต่อการไหลเวียนกลับของเลือด
  9. ให้มาพบแพทย์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้
  • มีอาการชา หรือปวดที่มือ
  • ปวด บวม แดง มากขึ้น
  • แผลมีเลือดซึมออกมาไม่หยุด
  • มีไข้สูง

ไม่มีความคิดเห็น: