วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การผ่าตัดต่อเส้นเลือด เพื่อฟอกเลือด

ผ่าตัดต่อเส้นเลือดเพื่อฟอกไตการผ่าตัดต่อเส้นเลือด เพื่อฟอกเลือด
(Vascular access for hemodialysis)

ถ้าคุณ จะต้องได้รับการรักษาโรคไตวายเรื้อรังในไม่กี่เดือนข้างหน้า คุณควรจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการรักษาจากทีมบุคลากรที่ดูแลรักษา คุณให้มากที่สุด ขั้นตอนที่สำคัญอันหนึ่ง คือ การผ่าตัดต่อเส้นเลือดเพื่อการฟอกเลือด ซึ่งเป็นตำแหน่งที่นำเลือดออกจากและกลับคืนร่างกายในการฟอกเลือด การผ่าตัดต่อเส้นเลือดควรทำเตรียมว้ก่อนเริ่มฟอกเลือดหลายสัปดาห์หรือหาย เดือน ซึ่งจะเป็นการง่ายกว่าและผลที่ดีกว่าสำหรับคุณ การผ่าตัดต่อเส้นเลือดมีหลายวิธี




การผ่าตัดต่อเส้นเลือดโดยใช้เส้นเลือดผู้ป่วยเองผ่าตัดต่อเส้นเลือดโดยใช้เส้นเลือดผู้ป่วยเอง
(Arteriovenous fistula, AV fistula, AVF)

เป็น วิธีที่ดีที่สุด ถ้าคุณมีเส้นเลือดโตเหมาะสมและมีเวลาเพียงพอ เพราะหลังผ่าตัดต้องใช้เวลารอให้เส้นเลือดที่ต่อโตพอที่จะใช้ได้ (อาจหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน) แต่ถ้าสามารถใช้ได้แล้ว ภาวะแทรกซ้อนจะน้อยกว่าและอายุการใช้งานจะนานกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชนิด อื่นโดยรวม
แพทย์ ผู้ผ่าตัดจะต่อเส้นเลือดดำเข้ากับเส้นเลือดแดงโดยตรงที่บริเวณข้อมือหรือข้อ ศอกจะทำให้แรงดันเลือดจากเส้นเลือดแดงไหลเทเข้าเส้นเลือดดำ จะทำให้เส้นเลือดดำที่แขนโตและแข็งแรงขึ้นจนสามารถใช้เข็มเบอร์โตแทง เพื่อการฟอกเลือดได้ การผ่าตัดมักจะใช้การฉีดยาชาเฉพาะที่



ผ่าตัดต่อเส้นเลือดโดยใช้เส้นเลือดเทียมการผ่าตัดต่อเส้นเลือดโดยใช้เส้นเลือดเทียม
(Arteriovenous bridge graft, AVBG, AVG)

ถ้าเส้น เลือดของคุณขนาดเล็กไม่เหมาะสมที่จะผ่าตัดด้วยวิธีแรก คุณจะต้องใช้เส้นเลือดเทียมฝังใต้ผิวหนังที่แขนสามารถใช้ได้ภายใน 2 - 3 สัปดาห์ โดยรวมแล้วปัญหาในการใช้งานอาจจะมากกว่าแบบแรก แต่ถ้าดูแลดีสามารถใช้ได้นานอาจจะหลายปี






สายสวนเส้นเลือดดำ เพื่อฟอกเลือดชั่วคราวcatheter
(Double lumen venous catheter for temporary access)

ถ้าไต ของคุณเสื่อมอย่างรวดเร็วจนไม่มีเวลารอการผ่าตัดเส้นเลือดได้ก่อน คุณอาจจะจำเป็นต้องใช้สายสวนเส้นเลือดดำ เพื่อฟอกเลือดชั่วคราว วิธีนี้ไม่อยู่ถาวร อาจจะอุดตัน ติดเชื้อและทำให้เส้นเลือดดำที่สวนตีบตันได้ ถ้าจำเป็นต้องฟอกเลือดเร่งด่วนการใช้สายส่วนนี้ก็สามารถอยู่หลายสัปดาห์



คำแนะนำหลังผ่าตัดต่อเส้นเลือดเพื่อฟอกเลือด
(Arteriovenous fistular, AVF)


  1. เป็นการผ่าตัดเชื่อมต่อเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงที่ข้อมือหรือข้อศอกของแขนผู้ป่วย
  2. แผลอาจมีเลือดซึมได้
  3. ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทำแผล เว้นแต่แผลซึมมากหรือผ้าคลุมแผลสกปรก
  4. โดยปรกติจะนัดตัดไหม 10 - 14 วัน
  5. อย่าให้แผลเปียกน้ำ
  6. หลังจากผ่าตัด 4 - 5 วัน ให้บริหารมือโดยบีบลูกยางหรือบอลบ่อยๆ เพื่อที่จะช่วยให้เส้นเลือดโตเร็วขึ้น
  7. ห้ามวัดความดันหรือแทงน้ำเกลือแขนข้างที่ผ่าตัดเส้นเลือด
  8. ห้ามสวมนาฬิกา กำไล หรือสายรัด ที่จะกดทับบริเวณเส้นเลือดแขนข้างที่ผ่าตัด


คำแนะนำหลังผ่าตัดต่อเส้นเลือดฟอกเลือดโดยใช้เส้นเลือดเทียม
(Arteriovenous bridge graft, AVBG)


  1. เป็นการผ่าตัดโดยใช้เส้นเลือดเทียมต่อระหว่างเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำในแขนหรือขาของผู้ป่วย
  2. อาการปวดและบวมเป็นเรื่องปกติ เพื่อลดอาการปวดและบวม ควรยกแขนสูงโดยหนุนหมอนให้สูงกว่าระดับหัวใจใน 24 - 48 ชม. แรก ห้ามใช้ความร้อนประคบ
  3. ที่แขนอาจจะมีฟกช้ำจ้ำเลือด จะรู้สึกอุ่น อาจมีเลือดซึมจากบาดแผล
  4. ถ้าจำเป็นก็ทานยาแก้ปวดฟอกเลือด
  5. ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทำแผล เว้นแต่แผลซึมมากหรือผ้าคลุมแผลสกปรก
  6. โดยปรกติจะนัดตัดไหม 10 - 14 วัน
  7. อย่าให้แผลเปียกน้ำ
  8. หลีกเลี่ยงการงอข้อศอกมากๆ จะทำให้รบกวนต่อการไหลเวียนกลับของเลือด
  9. ให้มาพบแพทย์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้
  • มีอาการชา หรือปวดที่มือ
  • ปวด บวม แดง มากขึ้น
  • แผลมีเลือดซึมออกมาไม่หยุด
  • มีไข้สูง

ภาวะโลหิตจาง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง


gr1 
















สาเหตุ
ภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยที่เป็นโรคไต วายเรื้อรังระยะสุดท้ายมีสาเหตุที่สำคัญได้แก่ร่างกายสร้าง ฮอร์โมน(Erythropoietin:EPO)ในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง และจากการขาดธาตุเหล็กระดับค่าความเข้มข้นของเลือดที่เหมาะสมตามตามมาตรฐาน การรักษา คือ 33-36 %ถ้ามากกว่าหรือน้อยกว่านี้จะทำให้มีโรคแทรกซ้อนหรือเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
อาการ
  • หน้ามืด อ่อนเพลีย เวียนศีรษะทำให้รบกวนกิจวัตรประจำวันกิน-นอน-พักผ่อน ซีดเป็นลมง่าย วูบ
  • เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่ายเช่นเดินขึ้นบันได ทนต่ออากาศหนาวเย็นได้น้อย
  • ลิ้นเลี่ยน กินไม่อร่อย
  • นอนไม่ค่อยหลับ
  • กิจกรรมทางเพศลดลง

อันตรายจากภาวะซีด
      • หัวใจห้องล่างซ้ายโต หัวใจทำงานหนักมากกว่าปกติ
      • เพิ่มอัตราการตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
      • ภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
การรักษา
มีอาการสงสัยว่าจะเป็นโลหิตจางควรไปพบแพทย์เพื่อรับวินิจฉัยหากมีภาวะขาดสารดังกล่าวจริงแพทย์จะให้การรักษาโดย
  1. ให้ ธาตุเหล็กเสริม มีทั้งรูปแบบกินและแบบฉีด การกิน เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ราคาถูก ขนาดที่ทานคือ 200มิลลิกรัม วันละสามครั้ง ปัญหาคือในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมักมีการดูดซึมเหล็กที่ทางเดินอาหารได้ไม่ดี อาจถูกรบกวนการดูดซึมโดยยาบางชนิดเช่น แคลเซียม อลูมิเนียม ยาลดกรด หรือมีการสูญเสียเลือดในทางเดินอาหาร
  2. ให้ฮอร์โมน(EPO)ฉีดเพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูกป้องกันภาวะโลหิตจาง
  3. ให้ เลือดในรายที่ซีดมาก แต่การให้เลือดเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ซี และไวรัสเอดส์ อาจทำให้เกิดโอกาสสลัดไตในการปลูกถ่ายไต ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการให้เลือด ในผู้ที่มีแผนจะปลูกถ่ายไตในอนาคต

ข้อสังเกต แม้ จะมีวิธีในการดูแลภาวะซีดหลายแนวทางแต่วิธีที่คุ้มค่าที่สุดคือการรับประทาน ธาตุเหล็กอย่างสม่ำเสมอถูกต้อง การรับประทานเหล็กอาจมีอาการท้องผูก ปวดท้อง  รู้สึกไม่สบายท้อง  อาจทำให้เบื่ออาหารได้ อาจแก้ไขโดยกินในขณะท้องว่าง 2 ชั่วโมงก่อนหรือ 1 ชั่วโมง หลังอาหาร เพื่อเพิ่มการดูดซึมหรือกินก่อนนอน
ภาวะที่ทำให้ฉีดฮอร์โมน EPO ไม่ได้ผล
  • ภาวะขาดเหล็กอย่างรุนแรงเพราะการสร้างเม็ดเลือดแดงต้องมีทั้งEPO และเหล็ก
  • ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงจะมีผลยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • ภาวะขาดวิตามินในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงเช่นโฟลิค
  • ภาวะที่มีการอักเสบหรือติดเชื้อในร่างกาย
  • ภาวะของเสียคั่งจากขาดฟอก
  • ผู้ที่ทานยาจับฟอตเฟตเช่นอลูมิเนียม
  • ผู้ที่มีการสูญเสียเลือดบ่อยครั้ง

การป้องกันภาวะซีด
  1. ทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและยาบำรุงเลือดเพียงพอ เช่นโฟลิค
  2. รับประทานเหล็กอย่างถูกต้อง ทั้งขนาดและวิธีการรับประทาน ตามแพทย์สั่ง
  3. ไม่ควรงดการฟอกเลือด
  4. แจ้ง ให้พยาบาลทราบถ้ามีเลือดออกในร่างกายหรือเป็นแผลตามร่างกาย เช่น อาการเลือดออกตามไรฟัน มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารอุจจาระเป็นสีดำ หรือเป็นริดสีดวงทวารจะมีเลือดขณะอุจจาระ มีปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อเป็นต้น ในผู้หญิงควรแจ้งทุกครั้งที่มีประจำเดือน
  5. ผู้ป่วยทานยาละลายลิ่มเลือดควรแจ้งให้ทราบด้วย
  6. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ทานอาหารให้ครบ 5หมู่ งดอาหารรสจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น

วิตามินบีรวม อาหารเสริมที่จำเป็นสำหรับโรคไต















ประเด็นหลักของการขาดวิตามินของผู้ ป่วยไตวายเรื้อรังคือการเข้มงวดเรื่องการรับประทานอาหาร ไม่สามารถรับประทานอาหารบางประเภทได้ ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดอาการข้างเคียงต่อผู้ป่วยหลายประการ เช่น ภาวะซีด (เลือดจาง), แขนขาชา, อาการคันในส่วนต่างๆ, ปวดศรีษะ ฯลฯ การฟอกไตที่ทำให้แต่เนื่องจากส่วนใหญ่ทางแพทย์ที่ดูแลไข้ มักจะไม่ค่อยสั่งให้กับทางผู้ป่วยครับ
วิตามิน บี รวม เป็นกลุ่มของวิตามินที่มีความจำเป็นต่อเส้นประสาทและความสมบูรณ์ของอวัยวะ ต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยวิตามิน บี 1, บี 2, ไนอะซีน, แพนโทธีนิก แอซิด, บี 6, บี 12, โฟลิก แอซิด, ไอโนซิทอล และโคลีน วิตามิน บี รวม เหมาะสำหรับการบำรุงสุขภาพของผิว ผม สายตา ตับ และยังมี ประโยชน์อย่างมากในการรักษาความผิดปกติของเส้นประสาท ความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวันทำให้ร่างกายต้องการวิตามิน บี มากยิ่งขึ้น
Vitamin B1
วิตามินบี1 หรือ Thiamin เป็นวิตามินที่โดนขับออกจากผู้ป่วยโรคไตเพราะเครื่องฟอกไตเทียม มีความจำเป็นในการสร้างสารสื่อสัญญาณประสาท และมีความจำเป็นต่อสุขภาพของระบบประสาท อาการรู้สึกสับสนเป็นอาการของการขาดวิตามิน บี1
อาการที่แสดงว่าขาด ได้แก่ ชาตามปลายมือปลายเท้า ตากระตุก แขนขาอ่อนแรง ความจำเสื่อม ซึมเศร้าไม่ทราบสาเหตุ กระสับกระส่าย หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น อาจพบว่าหัวใจมีขนาดโตขึ้น

อาการเป็นพิษ โชคดีที่ละลายในน้ำได้จึงไม่พบว่ามีอาการพิษที่เกิดจากการสะสมในปริมาณที่มีมากเกินไป
เเหล่งอาหารที่ได้รับ ธัญพืช ผัก และเนื้อสัตว์ ความต้องการต่อวัน 1.5 มก
ประโยชน์
จำเป็นต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบย่อย หัวใจและกล้ามเนื้อ
ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย
ช่วยแก้อาการเมาคลื่นและเมาอากาศ
ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตและรักษางูสวัดให้หายเร็วขึ้น
Vitamin B2
ใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อขาดจะกลายเป็นคนแคระแกรน จำเป็นต่อเอนไซม์และกระบวนการเมตาบอลิสมของสารอาหารต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะไขมัน ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด อันเป็นสาเหตูให้เส้นเลือดแข็งตัว ขจัดไขมันชนิดอิ่มตัวในเส้นเลือด เหตุนี้เองวิตามินบี2 จึงได้สมญาว่า "วิตามินป้องกันไขมัน" วิตามินบี2 ช่วยระงับอาการตาแฉะได้ จึงใช้เป็นส่วนประกอบในยาหยอดตา
Vitamin B3
วิตามินบี3 หรือ ไนอะซิน (Niacin) สามารถต่อสู้กับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงและช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นจำนวนมาก
ประโยชน์
ช่วยทำลายพิษหรือท็อกซินจากมลพิษ แอลกอฮอล์และยาเสพติด
รักษาโรคทางจิตและโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง
ช่วยให้อาการต่างๆ ของผู้ป่วยเบาหวานดีขึ้น
ช่วยรักษาโรคปวดหัวไมเกรน
ช่วยบรรเทาโรคอาร์ไทรทิสหรือข้ออักเสบ
ช่วยกระตุ้นและแก้ไขความบกพร่องทางเพศ
ช่วยลดความดันโลหิตสูงประจำ
Vitamin B5
วิตามินบี5 หรือ (Pantothenic Acid) เป็นวิตามินในการสร้างความเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยสร้างเซลล์ใหม่และช่วยบำรุงระบบประสาท
ร่างกายคนเราต้องการวิตามินบี5 อย่างน้อย 200 มิลลิกรัม
ประโยชน์
ช่วยสร้างแอนติบอดีซึ่งเป็นตัวสำคัญของภูมิชีวิต
เมื่อร่างกายเปลี่ยนไขมันที่สะสมไว้ให้เป็นน้ำตาลเพื่อสร้างพลังงาน วิตามินบี5 จะเป็นตัวสำคัญในการเปลี่ยนไขมันเป็นน้ำตาล
ช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
ช่วยให้ร่างกายหายจากการช็อกหลังการผ่าตัดใหญ่
ช่วนให้อาการอ่อนเพลียหายเร็วขึ้น
Vitamin B6
วิตามินบี6 หรือ (Pyridoxine) มักสูญเสียเพราะของเสียในเลือดของผู้ป่วยโรคไต เป็นวิตามินที่มักใช้ร่วมกับบี1 และบี12 ซึ่งวิตามินบี1 ทำงานกับคาร์โบไฮเดรตส่วนวิตามินบี6 และบี12 ทำงานร่วมกับโปรตีนและไขมัน ร่างกายคนเราต้องการวิตามินบี6 ประมาณ 1.5 มิลลิกรัม
ประโยชน์
ช่วยเปลี่ยนกรดอมิโนให้เป็นวิตามินบี3 หรือไนอะซิน
ช่วยร่างกายสร้างภูมิต้านทานแอนติบอดี และช่วยสร้างเซลล์โลหิตใด้ดียิ่งขึ้น
ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและแร่ธาตุแมกนีเซียม
ช่วยบรรเทาโรคที่เกิดจากระบบประสาทและผิวหนัง
ช่วยบรรเทาการคลื่นไส้อาเจียน
ช่วยบรรเทาอาการปากแห้งและคอแห้ง
ช่วยแก้การเป็นตะคริว แขนขาชาและช่วยขับปัสสาวะ
19517
Vitamin B12
วิตามินบี 12 (Cyanocobalamin) เป็นวิตามินชนิดละลายน้ำ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ให้ระวังการดูดซึมของบี12 สู่ร่างกายจะบกพร่องและเป็นผลให้เกิดโรคโลหิตจาง ควรกินวิตามินชนิดนี้ควบกับแคลเซียมจะทำให้การดูดซึมสู่ร่างกายดีขึ้น
ประโยชน์
ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
ช่วยให้เด็กเติบโตและเจริญอาหาร
ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี
ช่วยให้สมองไม่ฟุ้งซ่าน ความจำดีและมีสมาธิ
Vitamin B9 โฟลิก แอซิด ทำงานร่วมกับวิตามิน บี 12 ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง บรรเทาอาการหมดแรง หงุดหงิดง่าย ปวดศรีษะ อาการหลงลืม บรรเทาอาการทางประสาท พบมากในผักใบเขียว เนื้อสัตว์ ไก่ ปลา เป็ด ความต้องการ ไม่เกิน 400 มก.ต่อวัน
Vitamin Bp โคลีน ช่วยในการสร้างสารอะเซทิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อสัญญาณประสาทที่สำคัญในสมองที่ใช้ในการเก็บความทรงจำ
Vitamin Bm ไอโนซิทอล ช่วยในปฏิกิริยาชีวเคมีของไขมันทำให้ใช้ไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ช่วยในการเสริมอาหารให้แก่สมอง
Vitamin Bh ไบโอติน ช่วยในการสร้างพลังงาน การเจริญเติบโต และการสร้างกรดไขมันในร่างกาย พบมากใน ผักใบเขียวทุกชนิด ยีสต์ เนื้อสัตว์ เป็ด ไก ปลา อาหารทะเล
นอกจากวิตามินบีรวมที่กล่าวมา ข้างต้นแล้ว ควรได้รับวิตามินดี อาหารวิตามินดีชนิด 1-alpha hydrocylated form ตามแพทย์สั่ง วิตามินซี และหลีกเลี่ยงวิตามินเอครับ

"มะเฟือง" กับผู้ป่วยไตวาย


630
หลายเสียงเล่าลือกันถึงเรื่องของพิษที่มีอยู่ใน... "มะเฟือง" ส่งผลทำให้มีอันตรายถึงชีวิตจากภาวะไตวายเฉียบพลัน
เพื่อให้คลายสงสัย รศ.นายแพทย์ ม.ล.ชาครีย์ กิติยากร อายุรแพทย์ หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความกระจ่างว่า...
มะเฟืองเป็นผลไม้เขตร้อนที่คนไทย รู้จักมา เนิ่นนาน แต่ในจำนวนคนไทย 67 ล้านคน มีน้อยคนนักที่จะทราบว่า...พิษของมะเฟืองมีผลต่อสุขภาพของไต

และ...อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้

คุณ หมอชาครีย์ บอกว่า "ไต"... เป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อระบบในร่างกายของเรา มีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง มี 2 ข้างอยู่บริเวณบั้นเอว

ไตเป็น ส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนที่ต่อจากท่อไต  (URETER) ซึ่งจะนำปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ และเข้าสู่ท่อปัสสาวะ  (URETHRA) ในเพศชายจะมีต่อมลูกหมากอยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ

หน้าที่สำคัญของไต
1.ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการแตกตัวของโปรตีนในอาหารออกจากร่างกาย
2.รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรดและด่างของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
3.ควบคุมความดันโลหิต 4.สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก

ความหมายของภาวะไตวาย คือ ภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดแรก...ไตวายเรื้อรัง คือการสูญเสียการทำงานของไต ที่เป็นไปอย่างช้าๆ และถาวร ช่วงเวลาอาจตั้งแต่ 1–2 ปี จนถึง 10 ปีขึ้นไป จนในที่สุดเข้าสู่ภาวะสุดท้ายของไตวาย (END  STAGE  RENAL  FAILURE) ซึ่งหมายถึง ภาวะที่ต้องการการรักษาแบบทดแทน เช่น ฟอกเลือด, เปลี่ยนไตเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้

ชนิด ที่สอง...ไตวายเฉียบพลัน ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นชั่วโมง หรือ เป็นวัน ทำให้เกิดการคั่งของของเสียทำให้เกลือแร่ กรด ด่าง และการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ

"ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีปริมาณปัสสาวะต่อวันน้อยกว่า 400 ซีซี"

คุณหมอชาครีย์ บอกอีกว่า สาเหตุของไตวายเฉียบพลัน มีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่ เกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย...การอุดตัน ผู้ป่วยที่ช็อกจากการติดเชื้อ, เสียเลือดจำนวนมาก หรือขาดน้ำอย่างรุนแรงจากท้องเสีย

การใช้คำว่า   "เฉียบพลัน"   นอกจากบ่งถึงช่วงเวลาระยะสั้นที่เกิดขึ้นแล้ว ยังบ่งถึงความเป็นไปได้ ที่ไตจะกลับสู่ภาวะปกติได้

คนไทยรู้จักมะเฟืองมานาน นิยมรับประทานเป็นผลไม้สด หรือคั้นเป็นน้ำผลไม้ หรือรับประทานผลดิบเป็นผัก เช่น ในอาหารเวียดนาม

"ในบ้านเรามีรายงานเกี่ยวกับคนไข้เกิด ภาวะไตวายเฉียบพลันหลังการรับประทานผลสด หรือน้ำมะเฟืองจำนวนมาก...เนื่องจากมะเฟืองเป็นพืชที่มีสารออกซาเลตสะสมอยู่ เป็นจำนวนมาก

ปกติแล้วออกซาเลตสามารถละลายและถูกดูด ซึมได้อย่าง อิสระ แล้วถูกขับออกทางไต โดยสาเหตุของไตวายเฉียบพลันนั้น เพราะไตเป็นแหล่งที่มีสารต่างๆหลายชนิด เมื่อสารออกซาเลตในมะเฟืองจับตัวกับแคลเซียมที่อยู่ในไต จะกลายเป็น...ผลึกนิ่วออกซาเลต

ผลึกนิ่วจำนวนมากตกตะกอน หรืออุดตันในเนื้อไต และท่อไต ...ทำให้ไตวายหรือสูญเสียการทำงานไป"

แต่กระนั้น...การเกิดภาวะไตวายไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณที่รับประทาน และภาวะพร่องหรือขาดน้ำในผู้ป่วย

หน่วย โรคไต โรงพยาบาลรามาธิบดี เคยพบกรณีคนไข้ในประเทศไทยมีอาการไตวายเฉียบพลัน จากการได้รับภาวะพิษจากการรับประทานผลมะเฟือง และได้ส่งรายงานไปต่างประเทศ

ผู้ป่วยที่มีภาวะพิษต่อไต...เกิดขึ้น ในหลายชั่วโมงถัดมา หลังรับประทานผลมะเฟือง ผู้ป่วยจะมาด้วยภาวะไตวายเฉียบพลัน กล่าวคืออาจจะมีปัสสาวะออกน้อยลง, บวมน้ำ, ความดันโลหิตสูงขึ้น, น้ำท่วมปอด, อ่อนเพลีย

หรือ...บางรายอาจมาด้วยอาการสะอึก เนื่องจากของเสียในร่างกายคั่ง จากการที่ไตไม่สามารถขับของเสีย และน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้ และ...อาจจะต้องได้รับการฟอกเลือดล้างไตในที่สุด

พบด้วยว่า ถ้ามีภาวะไตวายเฉียบพลันเกิดขึ้น หลังหยุดรับประทานมะเฟืองผู้ป่วยเดิมที่มีไตปกติ กว่าไตจะกลับมาทำงานได้ตามปกติอาจใช้เวลานาน ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แต่หากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคไตเดิมอยู่ก่อนแล้ว การทำงานของไต อาจจะดีขึ้นบ้าง แต่ไม่กลับมาเท่าเดิม และอาจจะต้องฟอกไตถาวร

ผลการ ศึกษาปัจจัยการเกิดโรค พบว่าขึ้นอยู่กับชนิดมะเฟือง...มะเฟืองเปรี้ยวมีโอกาสเกิดโรคมากกว่ามะเฟือง ชนิดหวาน เนื่องจากมีปริมาณกรดออกซาลิคมากกว่า

"ถ้ารับประทานผลสด หรือผลไม้คั้น จะมีโอกาสเกิดโรคมากกว่า แต่ถ้าผ่านการดอง หรือแปรรูปหรือเจือจางในน้ำเชื่อม เช่น...ในน้ำมะเฟืองสำเร็จรูป จะทำให้ปริมาณออกซาเลตลดน้อยลง"

ปริมาณที่รับประทาน พบว่าระดับออกซาเลต ที่เป็นพิษต่อร่างกายมีค่าตั้งแต่ 2-30 กรัมของปริมาณออกซาเลต...ผลมะเฟืองเปรี้ยวมีออกซาเลต ประมาณ 0.8 กรัม ในขณะที่มะเฟืองหวานมีออกซาเลต 0.2 กรัม

สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่เดิมอาจมีไตวายเฉียบพลัน   จากการรับประทานมะเฟืองเพียงเล็กน้อย

นอกจาก นี้ ระดับความรุนแรงยังขึ้นอยู่กับภาวะพร่องหรือขาดน้ำ จากการรายงานผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายหลังรับประทานมะเฟือง พบว่าผู้ป่วยดื่มน้ำมะเฟืองหลังจากการทำงานหนักหรือสูญเสียเหงื่อมาก จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น เนื่องจากผลึกแคลเซียมออกซาเลตจะอิ่มตัว และตกผลึกง่ายขึ้นในเนื้อไต

ในผู้ที่มีไตเรื้อรังอยู่ก่อนโดยเฉพาะ ผู้ที่ไตวายต้องล้างไตแล้ว มะเฟืองมีผลต่อระบบประสาทด้วย มีรายงานในผู้ป่วยกว่า 50 รายทั่วโลก...มะเฟืองอาจมีสารที่เป็นพิษกับระบบประสาท ซึ่งผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไปจากการที่สมองบวม จากการที่มีผลึกนิ่วออกซาเลตไปเกาะสมอง

หรือการที่มะเฟืองมีสารพิษ อื่นที่กระตุ้นสมอง สารพิษต่อสมองนี้จะสะสมในภาวะไตวาย ดังนั้น...การเกิดพิษลักษณะนี้พบได้น้อยมากในคนปกติ และผู้ป่วยมักต้องรับประทานผลมะเฟืองเป็นจำนวนมาก

"ผู้ป่วยไตวายอาจ มีอาการทางสมองหลังรับประทานมะเฟืองทั้งชนิดหวานและชนิดเปรี้ยว เพียง...หนึ่งผล อาการ...มักเริ่มไม่กี่ชั่วโมงหลังรับประทานมะเฟือง โดยผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน สะอึก ตามด้วยภาวะซึมหรือชัก

ผู้ ป่วยส่วนใหญ่จะดีขึ้นหลังหยุดรับประทานมะเฟือง หลังการล้างไตเพื่อเอาพิษมะเฟืองออก...อย่างไรก็ตาม  มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตหลังรับประทานมะเฟือง"

น่าสนใจที่ว่า ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยได้ยินข่าวผู้ป่วยจากพิษมะเฟือง เป็นไปได้ ว่าที่ผ่านมามะเฟืองไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก ผลผลิตมะเฟืองในแต่ละปีก็มีจำนวนไม่มากอย่างผลไม้อื่นๆ คนส่วนใหญ่จะรับประทานในปริมาณน้อย และไม่รับประทานมะเฟืองเปรี้ยว

แต่ ในช่วงหลังๆมานี้...ได้มีบทความแพร่ทางสื่อออนไลน์ชวนให้รับประทานมะเฟืองสด โดยชี้แนะประโยชน์ทางสุขภาพ เช่น ลดน้ำตาลในเลือด หรือช่วยรักษาโรคอื่นๆ จึงอาจทำให้มีคนเชื่อ หันมาบริโภคมะเฟืองกันมากขึ้น

ปัจจุบันยัง ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ระบุชัดเจนถึงประโยชน์ของมะเฟือง ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนระมัดระวัง มะเฟืองสดเป็นผลไม้ที่น่าจะเกิดโทษกับผู้ที่รับประทานมากเกินกว่าที่ร่างกาย จะทำลายพิษได้

และ...ขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้บริโภค ที่มีความเสี่ยง ต่อภาวะไตวาย ผู้บริโภคสุขภาพปกติทานได้แต่ในปริมาณไม่มาก...ผู้ป่วยที่มีนิ่วในไตควรหลีก เลี่ยง...โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีไตเสื่อม  หรือมีความเสี่ยงต่อโรคไต ห้ามทานมะเฟืองทั้งเปรี้ยวและหวานเด็ดขาด

คุณหมอชาครีย์ย้ำทิ้งท้าย ว่า   โรคไตมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง   ผู้รักสุขภาพควรเอาใจใส่ต่อโภชนาการที่เหมาะสม และตรวจสุขภาพไตเป็นประจำทุกปี

การใช้ยาในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง


ผู้ ป่วยไตวายเรื้อรังต้องกินยาหลายชนิดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงควรต้องทราบข้อบ่งใช้ หรือประโยชน์ของยาแต่ละชนิด วิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง ข้อควรระวังต่าง ๆ ของ การใช้ยา อาการข้างเคียงของยา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และแจ้งให้แพทย์ พยาบาลทราบเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป นอก จากนี้การได้รับยาหลายชนิดร่วมกันอาจมีปฏิกริยาต่อกันของยา(ยาตีกัน)เกิด ขึ้น การทราบถึงปฏิกิริยาต่อกันของยาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงผลเสียที่เกิดจากยาตีกันได้ ผู้ป่วยจึงควรมีความรู้เรื่องยาที่ใช้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา และได้รับผลเสียจากการใช้ยาน้อยที่สุด

ไตวาย ไม่ตายไว

โรคไตวาย เกิดจากการที่ไตสูญเสียหน้าที่ ไม่สามารถขับน้ำ และของเสียออกจากร่างกายได้ ทำให้ร่างกายเสียสมดุล และเลือดเป็นพิษ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ซึม คลื่นไส้ และเสียชีวิตในที่สุดได้
โรคไตวายมี 2 แบบ แบบ เฉียบพลัน ซึ่งไตวายชั่วคราว สามารถฟื้นกลับมา ทำหน้าที่ได้อีก หายเป็นปกติได้ และแบบเรื้อรัง ซึ่งการทำงานของไตเสียอย่างถาวร ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อีกแล้ว
สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง มีหลายอย่าง บางอย่างสามารถรักษา และป้องกันการเสื่อม หรือชลอการเสื่อมของไตได้ ซึ่งถ้าไม่รีบรักษาต้นเหตุเหล่านี้ หน้าที่ของไตจะค่อยๆ เสื่อมลง จนกระทั่งเป็นไตวายระยะสุดท้าย
โรคไตวายเรื้อรัง ไม่ว่าเกิดจากสาเหตุใด สุดท้ายจะทำให้เกิดภาวะยูเรเมีย (Uremia) เหมือนกัน ทำให้มีอาการ ซีด บวม อ่อนเพลีย ซึมลงจนหมดสติและชักได้ ร่างกายจะดำรงอยู่ไม่ได้ ถ้าไตไม่ทำงานขับถ่ายของเสีย แต่ผู้ป่วยยังไม่สิ้นหวัง ด้วยความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ แพทย์สามารถรักษาผู้ป่วยไตวาย ให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพพอสมควร

โรคไตวายเรื้อรังเกิดจากอะไร ?

โรคไตวายเรื้อรัง ไม่ได้เกิดจากสาเหตุเดียว แต่เป็นภาวะที่ เกิดจากโรคหลายอย่าง สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเบาหวาน ที่เป็นมานานเกิน 15 ปี เป็นโรคความดันโลหิตสูงนานๆ โรคไตอักเสบเรื้อรัง นิ่วก็เป็นสาเหตุที่พบบ่อยในคนไทย

โรคไตวายเรื้อรังรักษาให้หายได้ไหม ?

เมื่อไตเสื่อมหน้าที่อย่างเรื้อรัง การทำงานของไตจะเสื่อมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งไตฝ่อ ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ แต่เราสามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ โดยการลดอาหารประเภทโปรตีน และควบคุมความดันโลหิต ให้อยู่ในภาวะปกติ

โรคไตวายเรื้อรังสามารถป้องกันได้ไหม ?

สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังหลายอย่าง สามารถป้องกันได้ เช่น การควบคุมเบาหวาน และความดันโลหิตสูงให้ดี สามารถลดอุบัติการของโรคไตวายเรื้อรังได้ โรคไตอักเสบหลายชนิดสามารถรักษา และสงวนการทำงานของไตได้ ถ้าได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ เนื่องจากโรคไตวายเรื้อรังรักษาไม่หาย แต่อาจป้องกันได้ การตรวจพบโรคไต และรักษาตั้งแต่ระยะแรก จึงมีความสำคัญมากในการป้องกันไตวาย เป็นที่น่าเสียใจว่า ผู้ป่วยโรคไตบางคนละเลยการรักษา จนทำให้ไตวายอย่างรวดเร็วจนเสียชีวิต

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต ?

โรคไตบางอย่าง อาจแสดงอาการ เช่น บวม ปัสสาวะเป็นเลือด แต่โรคไตอักเสบหลายอย่าง ไม่แสดงอาการเลย จนกระทั่งการทำงานของไตเสื่อมมากแล้ว ถ้าไม่ตรวจปัสสาวะ เลือด ก็จะไม่ทราบว่าเป็นโรคไต เพราะฉะนั้น การตรวจร่างกายประจำปี จึงมีความสำคัญมาก ในการตรวจหาโรคไตที่ไม่แสดงอาการ

อาการปวดหลังเป็นอาการของโรคไต หรือไม่ ?

อาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อและกระดูก , โรคไตส่วนใหญ่ ไม่แสดงอาการปวดหลัง นอกจากเป็นนิ่ว และกรวยไตอักเสบ

การรับประทานอาหารเค็ม เป็นสาเหตุของโรคไตหรือไม่ ?

อาหารเค็มไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคไต แต่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่ ควรลดอาหารเค็ม เพราะร่างกายไม่สามารถขับเกลือ ออกจากร่างกายได้ตามปกติ ทำให้บวมและความดันโลหิตสูง

เมื่อเป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้ว จะทำอย่างไร ?

ประการแรก ผู้ป่วยควรจำกัดอาหารบางอย่าง เช่น อาหารเค็ม ผลไม้และอาหารที่มีโปรตีนสูง ถ้าความดันโลหิตสูงต้องควบคุมให้ดี ยาจะช่วยลดอาการได้บ้าง แต่ไม่มียาอะไรที่จะขับของเสียออกจากร่างกายได้ วิธีที่จะขับของเสียและน้ำออกจากร่างกายได้ คือ การล้างไต (Dialysis)

จะรักษาโรคไตวายเรื้อรังได้อย่างไร ?

การรักษาที่ดีที่สุด คือ การผ่าตัดปลูกเปลี่ยนไต จากคนที่บริจาคไตให้ แต่การปลูกเปลี่ยนไตมีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ มีผู้บริจาคไตน้อย มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังนับร้อยนับพันคน รอการบริจาคไตอยู่ ผู้ป่วยเหล่านี้จะอยู่ได้ด้วยการล้างไต ระหว่างที่รอการปลูกไต

การล้างไตมีกี่วิธี ? วิธีไหนดีที่สุด ?

การล้างไตปัจจุบันมี 2 วิธี

1.
วิธีการล้างไตทางหน้าท้อง (CAPD : Continuous 
Ambulatory Peritoneal Dialysis) วิธีนี้ใช้สายยางฝังไว้
ในช่องท้องอย่างถาวร และใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้อง 
เพื่อล้างเอาของเสียในเลือดออก ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาวันละ 
4 - 5 ครั้ง ทุกวัน วิธีนี้มีข้อดีที่ทำเองที่บ้านได้ แต่มีข้อเสีย
ที่อุบัติการ การติดเชื้อในช่องท้องสูงเมื่อทำไปนานๆ 
และมีการสูญเสียโปรตีน ออกมาทางน้ำยามากในแต่ละวัน 
อาจเกิดภาวะขาดอาหาร ถ้ารับประทานอาหารไม่เพียงพอ
2.
การฟอกเลือด (Hemodialysis) โดยการดูดเลือดจากผู้ป่วย
ไปล้างเอาน้ำ และของเสียออก โดยใช้ไตเทียม (เครื่องฟอกเลือด)
เลือดที่ล้างแล้ว จะไหลกลับเข้ามาในตัวผู้ป่วย วิธีนี้ใช้เวลาครั้งละ
ประมาณ 4 ชั่วโมง เพื่อที่จะให้ได้ผลดี ควรฟอกเลือดสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง
จะเลือกวิธีไหนดีขึ้นอยู่กับโรคของผู้ป่วย และความพอใจของผู้ป่วย
แพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยทราบ ทั้งข้อดีและข้อเสียของทั้ง 2 วิธี
และแนะนำวิธีที่เหมาะสมให้ แต่ผู้ป่วยและญาติเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเอง
ว่าจะล้างไตหรือไม่ แล้วเลือกล้างไตวิธีใด

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อาหารผู้เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ด้วยการล้างช่องท้องชนิดถาวร (CAPD)

อาหารผู้เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
ด้วยการล้างช่องท้องชนิดถาวร (CAPD)
ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างช่องท้องชนิดถาวร
(CAPD- Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis) เพื่อลดการคั่งของของเสียและน้ำ ช่วยให้
ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ในการรักษาทดแทนไตด้วยการทำ CAPD นี้ จะมีการสูญเสียสารโปรตีน วิตามิน
และเกลือแร่ไปกับน้ำยาที่ใช้ล้างช่องท้อง ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้
เพียงพอ มิฉะนั้นอาจขาดสารอาหารได้ ปัญหาโภชนาการที่มักพบในผู้ที่ได้รับการรักษาทดแทนไตด้วยการ
ทำ CAPD คือ รับประทานอาหารที่ให้โปรตีนไม่เพียงพอ ทำให้ขาดโปรตีน มีระดับอัลบูมีนในเลือดต่ำ
อาจเนื่องมาจากผู้ป่วยเคยชินกับการถูกจำกัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ในช่วงเป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
ก่อนได้รับการรักษาด้วยการล้างช่องท้องมาเป็นเวลา นาน ทำให้รับประทานอาหารที่ให้โปรตีนได้ไม่มาก
พอ นอกจากนี้ในการทำ CAPD จำเป็นต้องใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องครั้งละ 2 ลิตร และทิ้งไว้ระยะเวลา
หนึ่ง เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนของเสียระหว่างเลือดและน้ำยาล้างไต ผ่านทางเยื่อบุช่องท้อง แล้วจึงปล่อย
น้ำยาออกมา ต้องทำการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตวันละ 4 ครั้ง การมีน้ำเข้าไปอยู่ในช่องท้อง ทำให้รู้สึกแน่นช่อง
ท้อง รับประทานอาหารได้น้อยลง และน้ำยา CAPD มีกลูโคสซึ่งจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้ผู้ป่วย
ไม่รู้สึกหิว ไม่มีความอยากอาหาร ผู้ป่วยบางคนยังขาดธาตุสังกะสี ทำให้ความรู้สึกในการรับรส
เปลี่ยนแปลง รับประทานอาหารไม่อร่อย ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง เหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดการ
ขาดสารโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่อื่นๆได้
ภาวะโภชนาการเกินหรืออ้วน ก็เป็นปัญหาโภชนาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยได้กลูโคสจากน้ำยา CAPD ที่ใช้ล้างช่องท้อง ทำให้ได้รับพลังงานเพิ่มมากกว่าที่ควร
ได้รับ ทำให้อ้วน ผู้ป่วยบางคนอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มีภาวะต้านอินสุลิน (Insulin
resistance) ภาวะแทรกซ้อนที่มักพบในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทดแทนด้วยการทำ CAPD ก็คือ การมี
ภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
และเกิดโรคหัวใจขาดเลือดตามมา ผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างช่องท้องชนิดถาวร จึง
จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง เพื่อการมีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดี
2
ผู้เป็นโรคไตที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างช่องท้องชนิดถาวร (CAPD) รับประทาน
อาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้มากน้อยเพียงไร
ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการทำ CAPD ควรรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนให้เพียงพอ ได้แก่ เนื้อ
หมู ไก่ ปู ปลา กุ้ง และไข่ขาว ทั้งนี้เพราะการทำ CAPD จะสูญเสียอัลบูมินซึ่งเป็นสารโปรตีนไปกับ
น้ำยาล้างช่องท้อง ผู้ป่วยจึงต้องรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ให้มากขึ้น เพื่อชดเชยปริมาณโปรตีนที่
สูญเสียไป และเพื่อให้ร่างกายนำสารโปรตีนเหล่านี้ไปใช้ในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ โดย
รับประทานเนื้อหมู เนื้อไก่ ที่ไม่ติดมันและหนัง หรือเนื้อปลา มื้อละ 4 ช้อนกินข้าวพูนพอควร (2 รายการ
ในตารางที่ 1) วันละ 3 มื้อ หรือจะแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก 4-5 มื้อก็ได้ ไข่ไก่ควรได้รับสัปดาห์ละ 2 ฟอง
ยกเว้นผู้ที่มีฟอสฟอรัสในเลือดสูง ควรงดไข่แดง หากเป็นไข่ขาวรับประทานได้ทุกวัน วันละ 4 ฟอง
โดยเฉพาะผู้ที่มีระดับอัลบูมินต่ำกว่า 3.5 กรัม/ลิตร
ตารางที่ 1 ปริมาณเนื้อสัตว์สุก 1 ส่วน (เฉพาะส่วนเนื้อ) ให้โปรตีน 7 กรัม พลังงาน 65-75 กิโล
แคลอรี
อกไก่ 2 ช้อนกินข้าว ไข่ 1 ฟอง
เนื้อหมูแดง 2 ช้อนกินข้าว ไข่ขาว 2 ฟอง
ปลาทูน่า 2 ช้อนกินข้าว ปลาทอด 2 x 1 ½ x ½ นิ้ว 1 ชิ้น
ลูกชิ้นปลา 5-6 ลูก หมูบด 2 ช้อนกินข้าว
แฮมไม่ติดมัน 1 ชิ้น (3 ½ x3 ½ x 1/8 นิ้ว) กุ้งขนาดกลาง 4 ตัว
ตะโพกไก่ไม่ติดหนัง 2 ช้อนกินข้าว
ผู้เป็นโรคไตรับประทานข้าว / ก๋วยเตี๋ยวหรืออาหารจำพวกแป้งอื่นๆได้มากน้อยเท่าไร
ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมปัง ขนมจีน ข้าวโพด เผือก มัน ฯลฯ เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ
ควรได้รับข้าวมื้อละ 2-3 ทัพพี หรือก๋วยเตี๋ยวก็ได้ เพื่อใช้เป็นพลังงานในการทำงานของอวัยวะต่างๆภายใน
ร่างกาย รวมทั้งใช้ในการทำงานและกิจกรรมอื่นๆ และการได้รับอาหารที่ให้พลังงานอย่างเพียงพอ ยังช่วย
ให้ร่างกายสามารถนำสารโปรตีนไปใช้ในการเสริมสร้างซ่อมแซมเซลล์และกล้ามเนื้อได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการทำ CAPD จะได้รับการใส่น้ำยาไปในช่องท้อง ทำให้รู้สึกแน่น
อึดอัดท้อง และบางครั้งรู้สึกเบื่ออาหาร ทำให้รับประทานข้าว ก๋วยเตี๋ยวได้น้อยลง จึงควรแบ่งมื้ออาหาร
เป็นมื้อเล็ก วันละ 4-5 มื้อ โดยจัดให้มีอาหารว่างระหว่างมื้อ ในแต่ละมื้อควรมีเนื้อสัตว์ เช่น ปลา ไก่ ให้
เพียงพอด้วย เพื่อป้องกันการขาดสารโปรตีน สำหรับผู้ที่อ้วนมาก ควรลดปริมาณข้าวหรืออาหารจำพวก
แป้งอื่นๆลงบ้าง เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ตารางที่ 2 ปริมาณข้าวและแป้ง 1 ส่วน มีโปรตีน 2 กรัม ให้พลังงาน 70-80 กิโลแคลอรี
ข้าวต้ม 2 ทัพพี ขนมปังกรอบ 3 แผ่น
ข้าวสุก 1 ทัพพี มันฝรั่งสุก ½ ถ้วย
ก๋วยเตี๋ยวลวก 1 ทัพพี ข้าวเหนียวนึ่ง 1/4 ถ้วย
วุ้นเส้น 2/3 ถ้วย ซีเรียลไม่เคลือบน้ำตาล ½ ถ้วยตวง
ขนมปัง 1 แผ่น ขนมจีน 1 จับ
ข้าวโพดต้ม 1 ฝักกลาง
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD จะรับประทานขนมหวาน น้ำหวานได้หรือไม่
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวานจัด น้ำหวาน เนื่องจากใน
น้ำยา CAPD มีกลูโคสผสมอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่ใช้น้ำยาซึ่งมีความเข้มข้นของกลูโคส 4.25%
กลูโคสจะถูกดูดซึมเข้าไปมาก อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ระดับอินสุลินในเลือดสูงขึ้น น้ำหนัก
ตัวเพิ่มขึ้น มีภาวะต้านอินสุลิน เกิดโรคเบาหวาน และมีภาวะไขมันในเลือดสูง จึงควรหลีกเลี่ยงขนมที่
หวานจัด เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ขนมหม้อแกง ฯลฯ ขนมเชื่อมต่างๆ ขนมน้ำเชื่อม
ขนมกวน รวมทั้งน้ำหวาน บางครั้งถ้าอยากรับประทานขนมหวาน ควรเลือกรับประทานขนมที่หวานน้อย
เช่น ขนมกล้วย ขนมมัน ขนมตาล ขนมสาลี่ เค้กไม่มีหน้า ฯลฯ ควรหลีกเลี่ยงขนมที่มีเนยหรือกะทิ และ
พยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ต้องจำกัดอาหารจำพวกไขมันหรือไม่
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD จะได้รับพลังงานส่วนเกินจากกลูโคสในน้ำยาล้างช่องท้อง ทำให้
อ้วน มีระดับไตรกลีเซอไรด์และระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วย
ที่ทำ CAPD และนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว ควร
เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย หลีกเลี่ยงเนื้อติดมัน อาหารที่ทำจากกะทิ หรือมีส่วนประกอบของ
เนย ครีม มาการีน ได้แก่ เค้ก คุกกี้ พาย ครัวซอง เพสตรี้ ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวมาก รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหาร
ที่มีโคเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง หนังเป็ด หนังไก่ หนังหมู มันหมู เครื่องในสัตว์ ปลาหมึก และ
อาหารจำพวกฟาสฟู้ด เช่น พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด ควรเลือกใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง
น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำ น้ำมันถั่วลิสง ในการประกอบอาหาร ใช้แต่น้อยโดยใช้ผัดแทนการทอด และ
หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำสลัดจำพวกมายองเนส และสลัดครีม ฯ
ผู้ที่อ้วนควรลดน้ำหนักลง โดยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เช่น เนื้อสัตว์ติด
มันและหนัง ขาหมู หมูสามชั้น และอาหารทอดต่างๆ เช่น อาหารชุบแป้งทอด มันทอด กล้วยแขก ข้าว
เกรียบ ทอดมัน หอยจ้อ ปาท่องโก๋ หมูหัน หนังเป็ดปักกิ่ง ควรเลือกรับประทานอาหารที่ทำโดยการต้ม
นึ่ง ย่าง อบ ผัดน้ำมันน้อย หรือยำ
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง จะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง มีระดับ
แอล ดี แอล (LDL) ในเลือดสูง และมีระดับเอช ดี แอล (HDL) ในเลือดต่ำ ทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
ขาดเลือด ผู้ป่วยควรควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่แสดงในตารางที่ 3 และควรเลือก
รับประทานอาหารตามตารางที่ 4 ในช่องที่แนะนำให้เลือก ในตารางที่ 5 แสดงปริมาณโคเลสเตอรอลใน
อาหาร เพื่อให้ทราบว่าอาหารชนิดใดมีโคเลสเตอรอลมาก และควรหลีกเลี่ยง
ตารางที่ 3 ระดับไขมันในเลือด ระดับที่เหมาะสม (มก/ดล)
โคเลสเตอรอลในเลือดทั้งหมด < 200
แอล. ดี. แอล. (โคเลสเตอรอลชนิดเลว) < 100 หรือ < 130
เอช. ดี. แอล. (โคเลสเตอรอลชนิดดี) > 55
ไตรกลีเซอไรด์ < 150
ตารางที่ 4 ปริมาณอาหารที่ควรเลือกและควรเลี่ยง
อาหารที่มีไขมันน้อยควรเลือกรับประทาน (ควรเลือกรับประทาน)
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและอาหารที่มีไขมันมาก(ควรหลีกเลี่ยง)
เช่นเนื้อปลา เนื้อสัตว์ติดมัน หมูสามชั้น คอหมู ขาหมู ไก่ตอน ฯ
เนื้อหมูไม่ติดมัน หมูหัน เป็ดปักกิ่ง หนังหมูทอด ฯ
เนื้อไก่ / เป็ด ไม่ติดมัน / หนัง ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ฯ
อาหารที่ผัดเช่น น้ำมันน้อย แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า ฯ
อาหารที่เตรียมโดยการต้ม นึ่ง ย่าง อบ เช่น หมูสะเต๊ะ หมูปิ้ง
อาหารที่ไม่ใส่กะทิเช่น แกงกะทิ ขนมใส่กะทิ ขนมครก ฯลฯ
อาหารจำพวกแกงเช่น แกงส้ม ต้มยำ แกงจืด ขนมอบที่มีเนยมาก เช่น เค้ก คุกกี้ พาย เพสตรี้ ฯ
อาหารประเภทยำ ที่มีผักมาก เช่น ส้มตำ ยำผักต่างๆ
อาหารทอดทุกชนิดเช่น ไก่ทอด กุ้งทอด ปลาทอดผัดผักต่างๆ กล้วยทอด ปาท่องโก๋ มันฝรั่งทอด ข้าวเกรียบ
หมายเหตุ : น้ำมันที่ใช้ผัด ควรใช้น้ำมันรำ
น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันถั่วลิสง หรือใช้น้ำมัน
ปาล์มโอเลอีนร่วมกับน้ำมันถั่วเหลือง 1:1
อาหารที่มีโคเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง ไข่ปลาปลาหมึก น้ำมันหมู เนย เครื่องในสัตว์ เช่นตับ ปอด หัวใจ
ตารางที่ 5 ปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม
ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้
ชนิดอาหาร จำนวนอาหาร มิลลิกรัม
ไข่ไก่ (เฉพาะไข่แดง) 6 ฟอง 1602
ไข่ไก่ทั้งฟอง 2 ฟองใหญ่ 548
ไข่เป็ดทั้งฟอง 2 ฟองกลาง 884
ไข่นกกระทา 11 ฟอง 844
ไข่ปลา 10 ช้อนชา 374
ตับไก่ 10 ช้อนโต๊ะ 631
ตับหมู 10 ช้อนโต๊ะ 355
ไตหมู 10 ช้อนโต๊ะ 480
กุ้งสุก 10 ช้อนโต๊ะ 195
ปลาหมึก 10 ช้อนโต๊ะ 260
หอยนางรม 4 ตัวกลาง 100
ข้อมูลจาก รศ. ดร. ปรียา ลีฬหกุล หน่วยโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรพยาบาลรามาธิบดี
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ต้องจำกัดผัก ผลไม้หรือไม่
ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังที่รักษาด้วยการทำ CAPD จะมีการสูญเสียโพแทสเซียมไปกับน้ำยาล้างไต จึง
ควรรับประทานผักและผลไม้ให้มากพอ มิฉะนั้นอาจขาดโพแทสเซียม ซึ่งมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ
หัวใจได้ โพแทสเซียมมีมากในผักสีเขียวจัด ผู้ป่วยควรรับประทานเป็นประจำให้เพียงพอ ซึ่งจะทำให้ได้
เหล็ก แคลเซียม วิตามินและใยอาหารเพิ่มขึ้นด้วย แต่ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่หวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน
ลำไย ฯ ผลไม้กวนและผลไม้เชื่อม เนื่องจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงได้
ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่ไม่หวานจัดและมีโพแทสเซียมมาก เช่น ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก แคนตา
ลูป ฝรั่ง กระท้อน ลูกพรุน รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง และควรรับประทานในรูปผลไม้มากกว่าน้ำผลไม้
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ต้องจำกัดเกลือและน้ำหรือไม่
โดยทั่วไป ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ไม่ต้องจำกัดเกลือโซเดียมและน้ำ เพราะมีการสูญเสียไป
กับน้ำยาล้างช่องท้อง รับประทานอาหารรสเค็มได้ตามปกติ ถ้ามีการสูญเสียมาก อาจต้องรับประทาน
อาหารที่มีรสเค็มเพิ่มขึ้น แต่หากมีความดันโลหิตสูงหรือบวม ก็จำเป็นต้องจำกัดอาหารที่มีรสเค็มจัดและ
ปริมาณน้ำที่ได้รับ
ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD รับประทานอาหารจำพวกถั่วเมล็ดแห้งได้หรือไม่
ถั่วเมล็ดแห้งทุกชนิดมีสารฟอสฟอรัสสูง การรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสมาก ทำให้ระดับ
ฟอสฟอรัสในเลือดสูง มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียม ทำให้แคลเซียมในเลือดต่ำ เป็นผลต่อการทำงานของ
กระดูก ทำให้กระดูกพรุน หักง่าย ปวดกระดูก ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังที่ทำ CAPD จึงควรหลีกเลี่ยงถั่วเมล็ด
แห้งทุกชนิด และเมล็ดพืชตามตารางที่ 6 รวมทั้งอาหารอื่นที่มีฟอสฟอรัสสูงด้วย เช่น ไข่แดง เครื่องใน
สัตว์ น้ำนม
ตารางที่ 6 ชนิดของอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง / งด
ถั่วแดง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ปลาทอดกรอบทั้งกระดูก
ถั่วดำ เมล็ดถั่วลันเตา ตับหมู ตับไก่ ไต หัวใจ ปอด ฯ
ถั่วเขียว เมล็ดทานตะวัน ไข่แดง
ถั่วแระ เมล็ดแตงโม เนื้อวัว
ถั่วลิสง เมล็ดฟักทอง น้ำนม, โยเกิร์ต
ถั่วเหลือง เครื่องดื่มประเภทโคล่า เนยแข็ง
ถั่วอัลมอนต์ ช็อกโกแลต จมูกข้าวสาลี
ถั่วพิตัสชิโอ ปลาซาดีนกระป๋อง ปลาแก้ว/ปลาขาวแห้ง
พีคานนัท ปลาไส้ตัน สาหร่ายแห้ง
เค้ก / โดนัท ปาท่องโก๋ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นอกจากนี้ ฟอสฟอรัสยังมีมากในสารเจือปน (Food additive) ซึ่งใช้เติมในอาหารต่างๆเพื่อ
เป็นวัตถุกันเสีย หรือปรับคุณภาพ หรือเพิ่มความคงตัวในอาหารและในผงฟู จึงควรอ่านฉลากและ
รับประทานแต่น้อยด้วย
ผู้เป็นโรคไตที่รักษาด้วยการทำ CAPD ควรปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหารอย่างไร
โดยสรุป ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหารดังนี้
1. รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น เนื้อหมู ไก่ ปลา กุ้ง แต่ละมื้อประมาณ 4 ช้อนกิน
ข้าวพูนน้อย
2. รับประทานข้าว ก๋วยเตี๋ยว หรือแป้งอื่นๆในมื้อหลัก มื้อละ 2-3 ทัพพีเล็ก (ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า)
3. แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก โดยรับประทานวันละ 5-6 มื้อ แทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่วันละ 2-3
ครั้ง จะช่วยให้ไม่รู้สึกแน่นท้องหลังรับประทานอาหาร
4. รับประทานผักสีเขียว ผักสีเหลือง และผลไม้ให้เพียงพอทุกมื้อ
5. ถ้าต้องการดื่มนม ให้ดื่มไม่เกิน ½ - 1 แก้วต่อวัน และถ้ามีระดับฟอสเฟตในเลือดสูง ควรงดนม และ
เครื่องดื่มประเภทนม
6. เลี่ยงการเติมน้ำตาลในอาหาร เครื่องดื่ม และไม่ดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม
7. รับประทานผลไม้ที่ไม่หวานจัดแทนขนมหวาน หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำผลไม้
8. รับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว เช่น เนย ครีม เนื้อติดมัน ไขมันสัตว์
หนังสัตว์ ฯ อาหารใส่กะทิ
9. ผู้ป่วยที่อ้วน ควรหลีกเลี่ยงอาหารทอดทุกชนิด เช่น ทอดมัน แฮ่กึ๊น ข้าวเกรียบ มันทอด ข้าวตัง
ปาท่องโก๋ ฯ
10. หลีกเลี่ยงอาหารฟาสฟู้ดที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลสูง
11. หลีกเลี่ยงการรับประทาน ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดแตงโม เมล็ดทานตะวัน เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ไข่ปลา
12. ใช้น้ำมันพืชจำพวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันปาล์ม ในการทำอาหาร
13. ควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์


ที่มา http://www.nephrothai.org/nephrothai_boffice/images_upload/news/188/files/capd%20diet%20valai.pdf

โรคไตวาย CRF


โรคไตวาย CRF หรือ CHRONIC RENAL FAILURE หรือโรคไตล้มเหลว ไม่สามารถทำงาน
ได้ ก็จะมีสาร BUN และสาร CREATININE คั่งมากในร่างกาย สาร 2 อย่างนี้ เป็นพิษต่อร่างกาย
เมื่อมีการสะสมมากขึ้น ไม่สามารถจะทำการขับถ่ายออกจากร่างกายได้ เพราะว่าไตไม่ทำงาน

ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อเกิดภาวะไตวายแล้วก็รักษาได้เช่นเดียวกับที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ แม้ผลการ
รักษาจะไม่ดีเท่ากับโรคอื่น เนื่องจากมักมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรคเบาหวานร่วมด้วย ซึ่งจะปรากฏ
ชัดเมื่อมีชีวิตยืนยาวขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีการรักษาในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ผลการรักษา
จึงดีขึ้นกว่าแต่ก่อน วิธีการรักษาเมื่อไตไม่สามารถกลับทำงานได้อีกทีเป็นที่ยอมรับกันขณะนี้ คือ การขจัด
ของเสียทางช่องท้อง การรักษาด้วยเครื่องไตเทียมและการปลูกถ่ายไต หรือที่เรียกกันในหมู่คนทั่วไปว่า
"การล้างท้อง" "การฟอกเลือด และ "การเปลี่ยนไต" ตามลำดับชื่อที่เรียกกันทั่วไปนี้ในบางครั้งก็ทำให้
เกิดความสับสนและความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาจนทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลมาก

ผู้ป่วยไตวายแพทย์จึงทำการล้างไต
หรือบางคนก็เรียกว่า ฟอกโลหิต ด้วยไตเทียม มี 2 แบบคือ

การขจัดของเสียออกจากช่องท้อง
การล้างไตชนิด PERITONEAL DIALYSIS คือ การล้างไตโดยวิธีการเจาะผนังหน้าท้อง

วิธีการขจัดของเสียทางช่องท้อง ที่นำมาใช้เมื่อไตเสียถาวรแล้วต้องทำอย่างไรต่อเนื่องตลอดไป วิธีนี้อาศัย
เยื่อบุช่องท้องช่วยกรองของเสียออกจากร่างกาย โดยการใส่น้ำยาเข้าในช่องท้องทางสายพลาสติกที่
แพทย์ได้ทำผ่าตัดฝังไว้ในช่องท้อง ทิ้งน้ำยาไว้ในช่องท้องประมาณ 4-6 ชั่วโมง แล้วปล่อยน้ำยาออก
จากช่องท้องแล้วทิ้งไป ของเสียในเลือดที่ซึมออกมาอยู่ในน้ำยาจะถูกกำจัดจากร่างกาย โดยทั่วไปจะทำ
การเปลี่ยนน้ำยาวันละ 4 ครั้ง และสามารถปรับเปลี่ยนการเปลี่ยนถุงน้ำยาให้เข้ากับกิจวัตรประจำวัน
ของผู้ป่วยได้ ขณะที่มีน้ำยาในช่องท้องผู้ป่วยสามารถทำงานและมีกิจกรรมได้ตามปกติ
มีผู้ป่วยบางรายไปเต้นรำได้ วิธีนี้จึงเป็นวิธีการรักษาที่ดีและได้ผลวิธีหนึ่ง ข้อดี คือผู้ป่วยสามารถทำเองได้
และไม่ต้องมาโรงพยาบาลบ่อย ข้อเสีย คือหากไม่ระมัดระวังความสะอาดให้ดีโดยเฉพาะในการเปลี่ยน
ถุงน้ำยาจะเกิดการติดเชื้อได้ และราคาถุงน้ำยาค่อนข้างสูง สายพลาสติกที่ฝังไว้ในช่องท้องและน้ำยา
ที่อยู่ในช่องท้องจะไม่ทำให้มีอาการเจ็บปวด นอกจากเมื่อเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณที่ฝังสาย หรือ
มีการติดเชื้อในช่องท้อง

ารรักษาด้วยเครื่องไตเทียม HEMODIALYSIS การฟอกโลหิตด้วยเครื่องล้างไตเทีย
การรักษาด้วยเครื่องไตเทียม หรือ ที่เรียกกันทั่วไปว่า "การฟอกเลือด" เป็นการนำเลือดจากหลอดเลือด
ที่เตรียมไว้แล้วออกจากร่างกาย ผ่านเข้ามาในตัวกรองของเสีย เลือดที่ถูกกรองแล้วจะไหลกลับเข้า
ร่างกายทางหลอดเลือดอีกหลอดหนึ่งวิธีการนำเลือดเข้า - ออกทางหลอดเลือดนี้คล้ายกับการให้เลือด
หรือน้ำเกลือทางหลอดเลือด (มิใช่การผ่าตัดเอาเลือดออกมาล้าง) โดยทั่วไปทำครั้งละ 5 ชั่วโมง สัปดาห์
ละ 2-3 ครั้ง ข้อดี คือ ไม่ต้องทำเอง และการรักษาใช้เวลาไม่มาก ข้อเสีย คือ ต้องมาโรงพยาบาลบ่อย
และ ไม่ได้มีการขจัดของเสียอยู่ตลอดเวลาอย่างการรักษาทางช่องท้อง นอกจากนั้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ยังมีปัญหาของหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งอาจทำให้การรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร การรักษาทั้งสอง
วิธีดังกล่าวข้างต้นต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และต้องทำการขจัดของเสียอย่างเพียงพอ
เพราะมิฉะนั้นการรักษาจะไม่ได้ผลและผู้ป่วยจะไม่แข็งแรงพอที่จะทำงานได้ เหตุที่ต้องรักษาตลอดไป
เพราะการรักษาเหล่านี้เป็นการทำงานทดแทนไตที่เสียไป
ตามปกติไตต้องทำงานขับของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกายอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา วิธีรักษาเมื่อไตเสียไป
แล้วจึงต้องทำเช่นเดียวกัน

การปลูกไตถ่ายไต
การปลูกถ่ายไต หรือ การเปลี่ยนไต คือ การนำไตของผู้อื่นที่เข้าได้กับผู้ป่วยมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย มิใช่
การเปลี่ยนเอาไตผู้ป่วยออกแล้วเอาไตผู้อื่นใส่เข้าไปแทนที่ การผ่าตัดทำโดยวางไตใหม่ไว้ในอุ้งเชิงกราน
ข้างใดข้างหนึ่งของผู้ป่วย แล้วต่อหลอดเลือดของไตใหม่เข้ากับหลอดเลือดของผู้ป่วย และต่อท่อไต
ใหม่เข้าในกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วย และต่อท่อไตใหม่เข้าในกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วย
การปลูกถ่ายไตนี้ใช้ไตเพียงข้างเดียวก็พอ ถ้าร่างกายของผู้ป่วยรับไตใหม่ได้ดีและไม่มีภาวะแทรกซ้อน
อื่น ๆ ไตที่ได้รับใหม่จะทำงานได้ดี แต่ผู้ป่วยต้องได้รับยากดภูมิต้านทานตลอดชีวิต และจะต้องอยู่ใน
ความดูแลของแพทย์ตลอดไป หากขาดยากดภูมิต้านทาน ร่างกายจะต่อต้านไตที่ได้รับใหม่ ทำให้
ไตเสียและยังอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ปัจจุบันการปลูกถ่ายไตถือเป็นการรักษาภาวะไตวายขั้นสุดท้ายที่ดีที่สุด แต่การรักษาวิธีนี้ก็ยังมีความเสี่ยง
อยู่และมีมากกว่าวิธีอื่นที่กล่าวมาแล้ว แต่ถ้าผลที่ได้ดี ผู้ป่วยจะมีชีวิตใกล้เคียงคนปกติมากกว่าวิธีอื่น
ผลการรักษาจะดีถ้าเป็นผู้ที่ไม่มีโรคของระบบอื่น นอกเหนือจากโรคไต ไม่มีภาวะติดเชื้อ และอายุไม่มาก
เป็นต้น ในการปลูกถ่ายไตแพทย์จึงต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบคอบ ว่าผู้ป่วยเหมาะสม
กับการรักษาด้วยวิธีนี้หรือไม่ รวมทั้งต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้ผู้ป่วยด้วย
มิฉะนั้นผลจะไม่ดีและในบางครั้งอาจเสียชีวิตได้
สำหรับในผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และ
หลังผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจเกิดขึ้น
ได้ระหว่างการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายไตทุกระยะ
จากประสบการณ์ในการรักษาที่ผ่านมาของผู้เขียน พบว่าผู้ป่วยที่มีกำลังใจดีและรักษาใจของตนเองได้ดี
ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด ผลการรักษามักจะดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีแม้โรคที่เป็นจะรุนแรงหรือแม้จะ
ทุพพลภาพ การรักษาใจร่วมกับการรักษาวิธีอื่น ๆ ดังกล่าวมาแล้ว จึงมีความสำคัญมาก และเป็นสิ่งที่ทั้ง
แพทย์ ผู้ป่วย และญาติ ควรให้ความสำคัญและช่วยกันทำเพื่อผู้ป่วยจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุข
แม้จะเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่